Ads 468x60px

.

Sample Text

Sample text

Introduction

Social Icons

Blogroll

About

Blogger templates

Blogger news

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

Mikoyan MIG-25


Mikoyan MIG-25 เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทิ้งระเบิด และลาดตระเวนความเร็วเหนือเสียงที่ออกแบบโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทิ้งระเบิด และลาดตระเวนความเร็วเหนือเสียงที่ออกแบบโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต 

   ความสามารถที่แท้จริงของมันไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อฝั่งตะวันตกจนกระทั่งปีพ.ศ. 2519 เมื่อวิกเตอร์ เบเลนโค นักบินมิก-25 ของโซเวียต ถูกตรวจจับโดยสหรัฐอเมริกาผ่านทางญี่ปุ่น 

รายละเอียด
  • ผู้สร้าง:(โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือ สำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์
  • ประเภท
    • เจ๊ตขับไล่สกัดกั้นทุกกาลอากาศที่นั่งเดียว (ฟอกซ์แบท-เอ)
    • เจ๊ตตรวจการณ์เพดานบินสูงที่นั่งเดียว (ฟอกซ์แบท-บี)
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต ตูมันสกาย ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 8,000 กิโลกรัม และ 11,000 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก:14 เมตร
  • ยาว:22.3 เมตร
  • สูง:5.6 เมตร
  • พื้นที่ปีก:56 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 20,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขั้นสูง: 35,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด: 3.2 มัค ที่ระยะสูงมาก
  • อัตราเร็วขั้นสูง:2.8 มัค ที่ระยะสูงกว่า 10,700 เมตร
  • รัศมีปฏิบัติการ: 950 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่
  • พิสัยบินไกลสุด: 2,000 กิโลเมตร
  • เพดานบินใช้งาน: 22,000 เมตร
อ้างอิง


F 14 Tomcat

F-14 Tomcat  เป็นเครื่องบินขับไล่ปีกพับสองที่นั่งสองเครื่องยนต์ี่มีความเร็วเหนือเสียง เอฟ-14 เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศเครื่องบินสกัดกั้น และเครื่องบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีของกองทัพเรือสหรัฐตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517-2549 ต่อมามันได้เปลี่ยนมาทำภารกิจโจมตีที่แม่นยำเมื่อได้ใช้ระบบอินฟราเรดจับเป้ากลางคืนแลนเทิร์น (LANTIRN)  เอฟ-14 ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่โครงการเอฟ-111 ล้มเหลว และเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่แบบแรกของสหรัฐฯ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับเครื่องบินมิกในสงครามเวียดนาม

มูลค่าของ F-14 ในปี พ.ศ.2541 อยู่ที่ราว 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ผลิตออกมาใช้ทั้งสิ้นจำนวน 712 ลำ โครงการเอฟ-14 ทอมแคทนั้นเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพเรือสหรัฐตระหนักว่าปัญหาน้ำหนักและความคล่องตัวกำลังทำลายเครื่องบินมากมายของตน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกองทัพเรืออย่างมาก 
เอฟ-14  กำลังเตรียมบินขึ้นจากเรือยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรส์
เอฟ-14 ทอมแคทถูกออกแบบมาให้เป็นทั้งเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศและเครื่องบินสกัดกั้นทางทะเลพิสัยไกล เอฟ-14 มีสองที่นั่งพร้อมฝาครอบห้องนักบินที่ให้มุมมอง 360 องศา เครื่องบินมีจุดเด่นที่ปีกซึ่งสามารถพับได้อย่างอัตโนมัติเมื่อทำการบิน ในการเข้าสกัดกั้นด้วยความเร็วสูงปีกจะลู่ไปข้างหลัง พวกมันจะกางออกเพื่อทำให้เอฟ-14 เลี้ยวได้แคบขึ้นและได้เปรียบในการต่อสู้ มันถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาการทำงานของเอฟ-4 แฟนทอม 2 ในหลายๆ ด้าน
   ในต้นทศวรรษที่ 2513 กองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่านได้มองหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ที่ก้าวหน้า อิหร่านจึงเลือก F-14 Tomcat มาประจำการ  ทอมแคทนอกจากสหรัฐเพียงรายเดียวคือกองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่าน


รายละเอียด
  • นักบิน 2 นาย (นักบินและผู้สกัดกั้นเรดาร์)
  • ความยาว 19.1 เมตร
  • ระยะระหว่างปีกทั้งสอง
    • เมื่อกลางปีก 19.55 เมตร
    • เมื่อพับปีก 11.58 เมตร
  • ความสูง 4.88 เมตร
  • พื้นที่ปีก 54.5 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 19,838 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 27,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 33,720 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-400 สองเครื่องยนต์พร้อมสันดาปท้าย
    • ให้แรงขับ 13,810 ปอนด์เมื่อไม่ใช้สันดาปท้าย
    • ให้แรงขับ 27,800 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
  • ความเร็วสูงสุด 2.34 มัค (2,485 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับความสูง
  • พิสัยทำการรบ 926 กิโลเมตร
  • พิสัยในการขนส่ง 2,926 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 50,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 45,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักที่ปีกบรรทุกได้ 553.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.91
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F-14_%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%97

F 15 Eagle


   F-15 C Eagle เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ทางยุทธวิธีทุกสภาพอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศ มันถูกพัฒนาให้กับกองทัพอากาศสหรัฐและได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยใหม่ เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบดัดแปลงสำหรับทำหน้าที่โจมตีทุกสภาพอากาศซึ่งได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2532 กองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้เอฟ-15 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2568





รายละเอียด
  • ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
  • ความยาว 19.43 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
  • ความสูง 5.63 เมตร
  • พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 -220 หรือ -229 จำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้สันดาปท้ายจะให้กำลังเครื่องละ 25,000 ปอนด์สำหรับ -220 และ 29,000 ปอนด์สำหรับ -229
  • ความเร็วสูงสุด
    • ระดับสูง 2.5 มัค (2,660 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
  • ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
  • เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
  • บินทน: 5.25 ขั้วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อ้างอิง


EF2000 Eurofighter


   เป็นเครื่องบินขับไล่ที่พัฒนาขึ้นโดยกองทัพอากาศฝรั่งเศส,เยอรมัน,อิตาลี,สเปนและอังกฤษ โดยมีโครงการที่จะพัฒนาเครื่องบินรบสำหรับศตวรรษหน้า และให้ชื่อว่า FEFA ( เครื่องบินรบ ในอนาคต ของยุโรป) แต่ในระหว่าเริ่มโครงการก็เกิดปัญหา และอุปสรรค จากการเมือง ,ธุรกิจ ,ด้านเทคนิค และการทหารการไม่เห็นด้วย กับขนาด และกำหนดการผลิต ทำให้ฝรั่งเศส ถอนตัวออกจากโครงการ ในเดือน ก.ค. 1985 
ปัจจุบันเครื่องนี้ เป็นที่รู้จักกันในนาม Eurofighter 2000. เริ่มบินครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1994 มีจุดประสงค์ให้ใช้ งานได้ 6,000 ช.ม. หรือ 30 ปี ได้เท่านั้น
   

รายละเอียด
  • เครื่องยนต์ บริษัท EuroJet รุ่น EJ 200 turbofan with afterburn จำนวนเครื่องยนต์ 2
  • แรงขับเครื่องยนต์ ปกติ 60 กิโลนิวตัน (13,490 ปอนด์) ถ้าใช้สันดาปท้าย 90 กิโลนิวตัน (20,250 ปอนด์)
  • ความยาวของปีก (ปลายปีก ถึง ปลายปีก) 10.95 เมตร (35 ฟุต 11 นิ้ว)
  • ความยาวลำตัว 15.96 เมตร (52.36 ฟุต)
  • ความเร็วสูงสุด มากกว่า 2.0 มัค
  • รัศมี ระยะทำการรบ 1,390 กิโลเมตร (750 ไมล์)
  • น้ำหนักบินขึ้น 23,000 กิโลกรัม (50,706 ปอนด์)
  • เพดานบินสูงสุด 16,765 เมตร (55,000 ฟุต)
  • ความจุเชื้อเพลิง 4,000 กิโลกรัม (8,818 ปอนด์)
  • จำนวนนักบิน 1 คน ,2 คนสำหรับฝึก
  • อาวุธ สร้างมากับเครื่อง 27 mm. Mauser gun13 จุด สำหรับติดตั้งภายนอก5 จุดอยู่ใต้ลำตัว และ 4 จุดแต่ละปีก ทั่วไป: 4x AIM-120, 2xAIM-9 , 1 tank,6 x penguin ASMsหรือ: 4 x AIM-120, 2 x AIM-9 , 1 tank,5 x 450 kg.bomb
  • น้ำหนักบรรทุกภายนอก 6,500-8,000 กิโลกรัม (14,330-17,637 ปอนด์)

อ้างอิง



Jas 39 Gripen


  เครื่องบินยาส 39-กริพเพน  เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินชนิดนี้อยู่ประมาณ 6 ลำ 
   กริพเพนถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ดี ความยืดหยุ่น ความมีประสิทธิภาพ และความอยู่รอดใน  การต่อสู้ทางอากาศ ความน่าสนใจหนึ่งของกริพเพนคือการที่มันสามารถบินขึ้น-ลงได้บนถนนสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสวีเดน เครื่องบินนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถปฏิบัติการได้แม้ว่าทัพอากาศจะสูญเสียความได้เปรียบทางอากาศไป เพื่อการบำรุงรักษาที่รวดเร็วและขึ้นบินอีกครั้ง ผลที่ได้คือกริพเพนเป็นเครื่องบินขับไล่ที่สามารถเติมเชื้อเพลิงและอาวุธได้ใน 10 นาทีโดยใช้คนไม่กี่คนและทำการบินอีกครั้ง
รายละเอียดของ Jas 39-Gripen


รายละเอียด
  • ลูกเรือ 1 นาย (2นายสำหรับรุ่นบีและดี)
  • ความยาว 14.1 เมตร (14.8 เมตรสำหรับสองที่นั่ง)
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 8.4 เมตร
  • ความสูง 4.5 เมตร
  • พื้นที่ปีก 30 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 5,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 8,500 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,000 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้าย วอลโว แอโร อาร์เอ็ม12
    • แรงขับปกติ 12,100 ปอนด์
    • แรงขับเมื่อใช้สันดาปท้าย 18,100 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2 มัค (2,130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในทุกระดับความสูง
  • พิสัยการรบ 800 กิโลเมตร
  • ระยะสำหรับการขนส่ง 3,200 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงที่ปลดได้
  • เพดานบินทำการ 50,000 ฟุต
  • น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 336 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.97
อ้างอิง


F-16 เครื่องบินขับไล่ที่ใช้งานมากที่สุดในโลก



  หลายคนคงจะรู้จักเครื่องบินอย่าง เอฟ-16 กัน เพราะเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดในกองทัพอากาศไทยในตอนนี้ ผู้ชายหลายคนที่เป็นทหารอากาศก็อยากใฝ่ฝันที่จะได้บังคับเครื่องบินลำนี้
   เอฟ-16 เป็นเครื่องบินขับไล่หลายบทบาท ที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จมากลำหนึ่งที่เคยผลิตออกมาเลย ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยม โดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบันและมีการผลิตออกมาใช้จำนวน 4,400 ลำ
   เอฟ-16 เป็นเครื่องบินหลาบทบาทหนึ่งเครื่องยนต์ที่มีความเร็วเหนือเสียง เอฟ-16 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักสู้ที่คุ้มค่าซึ่งสามารถทำภารกิจได้หลากหลายและยังมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา มันมีขนาดเล็กและเบากว่าเครื่องบินก่อนหน้า แต่ใช้อากาศพลศาสตร์และระบบอิเลคทรอกนิกอากาศที่ล้ำหน้ากว่า รวมทั้งใช้ระบบฟลาย-บาย-ไวร์ (Fly-by-wire) กับอาร์เอสเอส (Relaxed static stability) เป็นครั้งแรก เพื่อให้ทำกระบวนท่าได้สูงสุด ด้วยความคล่องแคล่วสูงเอฟ-16 สามารถทำแรงได้ในระดับ 9 จีและสามารถทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 2 มัค

รายละเอียด
  • ลูกเรือ 1 นาย
  • ความยาว 14.8 เมตร
  • ความสูง 4.8 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีก 9.45 เมตร
  • พื้นที่ปีก 27.87 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 8,670 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 12,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,968 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
  • ความเร็วสูงสุด
    • 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล
    • มากกว่า 2.0 มัค (2,414 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง
  • รัศมีทำการรบ 550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม
  • ระยะในการขนส่ง 4,220 กิโลมตรพร้อมถังที่สลัดทิ้งได้
  • เพดานบินทำการ มาก 60,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.095
อ้างอิง

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

เครื่องบินฝึก


เครื่องบินฝึกมีหน้าที่ฝึกศิษย์การบินเพื่อไปทำการบินกับเครื่องบินแบบต่าง ๆ โดยแบ่งได้คร่าว ๆดังนี้

1. เครื่องบินฝึกขั้นต้น
 ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องบินฝึกใบพัดที่ไม่ซับซ้อน เพื่อฝึกให้กับผู้ที่ไม่เคยบินมาก่อน ตัวอย่างเช่นเครื่อง PC-7 หรือ T-6 เป็นต้น


2. เครื่องบินฝึกขั้นปลาย เป็นเครื่องบินที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จบจากการฝึกขั้นต้นมาแล้ว เครื่องบินแบบนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น หลาย ๆ รุ่นเลียนแบบห้องนักบินและระบบต่าง ๆ มาจากเครื่องบินรบจริง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับศิษย์การบิน ส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินประเภทนี้สามารถปรับเปลี่ยนภารกจิไปทำภารกิจโจมตีเบาได้ด้วย

3. เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ หรือ Lead-In Fighter Trainer เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จะไปบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นต่าง ๆ เครื่องบินเหล่านี้ทำภารกิจได้ทั้งฝึกและโจมตี ดังนั้นเราจะเห็นเครื่องบินรุ่นนี้ในหลากหลายภารกิจ

เครื่องบินลาดตระเวน


     เครื่องบินประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ติดอาวุธป้องกันตัว โดยเครื่องจะทำภารกิจลาดตระเวนหาข่าวเป็นหลัก
ตัวอย่างเครื่องบินลาดตระเวน
 
  • Consolidated PBY Catalina เรือบินทะเลของสหรัฐที่ใช้มากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่2
 
 


เครื่องบินขนส่ง

     เครื่องบินขนส่งมีภารกิจหลักคือขนส่งสิ่งของและยุทธปัจจัยต่าง ๆ ไปสู่ที่หมาย รวมถึงสามารถใช้ขนอากาศยาน พลร่ม ปืนใหญ่ ฯลฯ ได้ด้วย
ตัวอย่างเครื่องบินขนส่ง

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ

     เครื่อง Tanker มีหน้าที่หลัก ๆ ก็คือเติมเชื่อเพลิงให้กับอากาศยานอื่น ๆ ทางอากาศเพื่อความอ่อนตัวในการรบ เพราะอากาศยานเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องกลับมาลงสนามบินเพื่อเติมเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการเดินทางไกลต่อเนื่องอีกด้วย

Drogue และ Boom  ระบบการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ระบบตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้เติมคือ

1. Boom ระบบการเติมแบบนี้จะมีท่อยาว ๆ ยื่นออกมาจากบ. Tanker และจะฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปในท่อรับด้านหลังเครื่องที่เรียกว่า Receptacle โดยจะมีเจ้าหน้าที่ที่นั่งอยู่ด้านหนังเครื่อง Tanke คอยควบคุมการเข้าออกของเครื่องบินที่จะรับการเติมน้ำมัน การจ่ายน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งระบบนี้เป็นมาตราฐานหลักของกองทัพอากาศสหรัฐ

ข้อดีของระบบนี้คือสามารถถ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่อากาศยานเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วคือประมาณ 1000 แกลลอนต่อนาทีในเครื่อง KC-135 นอกจากความเร็วแล้ว ประโยฃน์อีกอย่างนึงก็คือเครื่องบินไม่จำเป็นต้องบินเข้าใกล้และรักษาระดับและความเร็วให้เท่ากันเป็นเวลานาน ทำให้มีความปลอดภัย แต่ข้อเสียคือระบบมีราคาแพงมากและสามารถเติมเฃื้อเพลิงให้กับอากาศยานได้ทีละลำเท่านั้น



2. Drogue ระบบนี้จะใช้สายท่อส่งเชื้อเพลิงยื่นออกมาจากปีกของบ. Tanker โดยปลายสายจะสังเกตุได้ง่าย ๆ ก็คือจะมีลักษณะคล้าย ๆ ตระกร้า โดยอากาศยานที่เข้ารับการเติมเชื้อเพลิงนั้นจะต้องใช้ท่อรับเชื้อเพลิงหรือ Probe ติดเข้ากับตัว Drogue ระบบนี้มีข้อดีก็คือสามารถเติมได้ครั้งและหลายลำ (สูงสุดที่เคยเห็นคือ 4 ลำ) และเป็นระบบที่ติดตั้งง่าย โดยสามารถเปลี่ยนเครื่องบินลำเลียงธรรมดาอย่าง C-130 ให้กลายเป็น KC-130 ได้

เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด

     เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดหรือ Fighter-Bomber ก็เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบินทิ้งระเบิดหรือเครื่องบินโจมตี โดยเครื่องบินสามารถปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดขนาดกลางหรือหนักและสามารถทำการรบทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
 

เครื่องบินทิ้งระเบิด

     เครื่องบินทิ้งระเบิดมีภารกิจหลักคือโจมตีทิ้งระเบิด แต่จะแตกต่างกับเครื่องบินโจมตีก็คือ เครื่องบินโจมตีนั้นสามารถทำการโจมตีในทางยุทธวิธี (tectical) ซึ่งอยู่ในวงจำกัด แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถทำการโจมตีในทางยุทธศาสตร์ (Strategic) คือสามารถเปลี่ยนผลของสงครามทั้งหมดได้ 

เครื่องบินโจมตี

     เครื่องบินโจมตีมีภารกิจหลักก็คือโจมตีสนับสนุนการรบให้กับกองกำลังภาคพื้นดิน ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้วมันจะมีความสามารถทางการบินค่อนข้างสูง บรรทุกอาวุธได้มาก สามารถอยู่ในสนามรบได้นาน ส่วนมากแล้วเครื่องบินจะมีนักบิน 2 คนคือนักบินและนายทหารสรรพาวุธคอยช่วยเหลือกัน 
ตัวอย่างเครื่องบินโจมตี

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

เครื่องบินขับไล่

   เครื่องบินขับไล่มีหน้าที่หลักก็คือการเข้าขัดขวางและต่อสู้กับเครื่องบินอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องบินชนิดนี้จำเป็นต้องมีความคล่องตัวสูง มีประสิทธิภาพทางการบินที่ดี มีความเร็วที่ยอดเยี่ยม นอกจากนั้นยังต้องมีระบบอิเล็กทรอนิคทางการบินและอาวุธที่เอื้อประโยชน์ให้กับภารกิจด้วย เช่นระบบเรด้าห์ที่สามารถจับเป้าหมายทางอากาศได้ไกล ระบบอาวุธพิสัยใกล้และกลางต่าง ๆ
   ทั้งนี้ในบรรดาเครื่องบินขับไล่ด้วยกันนั้น ก็มีเครื่องบินประเภทที่ทำภารกิจขัดขวางทางอากาศ หรือ Interceptor โดยเครื่องบินประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่หรือบินได้ไกล เพราะโดยภารกิจแล้วเครื่องบินประเภทนี้มีหน้าที่ขัดขวางเครื่องบินข้าศึกในระยะที่ไม่ไกลจากฐานบิน จนกว่าข้าศึกจะล่าถอยหรือกำลังทางอากาศอื่น ๆ จะเข้ามาช่วย ทั้งนี้ เครื่องบินประเภทนี้มักไม่ได้ติดอาวุธมากมาย มีขนาดเล็ก แต่มีความเร็วและความคล่องตัวเป็นเลิศ 
 
ตัวอย่างเครื่องบินขับไล่


 
 


ต้นกำเนิดของเครื่องบิน



 ต้นกำเนิดของเครื่องบิน
     
     เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วทีี่มนุษย์ปรารถนาที่จะโบยบินบนท้องฟ้าได้เหมือนนก โดยสังเกตุการบินของนก นกผ่านกระบวนการวิวัฒนนาการจนมีสรีระที่เหมาะแก่การบิน มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีกระดูกเบา มีขนป้องกันการไหลทะลุผ่านของอากาศ
     โดยทางสรีระแล้ว มนุษย์ไม่เหมาะที่จะบินได้ด้วยกำลังของตนเอง คนมีกล้ามเนื้ออกที่ไม่แข็งแรงพอ ไม่มีโครงกระดูกที่พรุนเพื่อลดนำ้หนัก ไม่มีหัวใจที่สูบฉีดโลหิตได้เร็วพอ การบินด้วยกำลังตนเองของมนุษย์จึงล้มเหลวมาโดยตลอด จนกระทั่ง พอล แมคครีดี ผู้ได้สมญานามว่า "อิคารุสยุดใหม่" ทำได้สำเร็จด้วยเครื่องบินกอสซาเมอร์ คอนดอร์ ในปี 1977
     ดูอย่างนิทานสมัยกรีกโบราณที่มีเรื่องเล่าถึงสองพ่อลูก คือ เดดาลัส (Daedalus) และ อิคารัส (Icarus) ที่พยายามบินหลบหนีจากการถูกคุมขังบนเกาะครีต โดยใช้ขี้ผึ้งยึดติดขนนกเข้าด้วยกันเป็นปีก ตามเทพนิยายโบราณ เล่าว่า เดดาลัสสามารถหลบหนีได้เป็นผลสำเร็จ ส่วนอิคารัสบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป ทำให้ขี้ผึ้งละลายและขนนกไม่สามารถเกาะกันเป็นปีกได้อีกต่อไป จึงร่วงหล่นลงมาและเสียชีวิตในระหว่างหลบหนี ถึงแม้จะมีเรื่องราวน่าเศร้าเช่นนี้ ก็ยังไม่ทำให้นักประดิษฐ์ละทิ้งความพยายามที่จะสร้างอุปกรณ์ที่สามารถทำให้บินได้เหมือนนกไปได้ ส่วนใหญ่จะติดปีกที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ ไว้ที่แขน แล้วกระโดดลงจากหอคอยหรือหน้าผาสูง ผลลัพธ์ก็เป็นเหมือนอิคารัสที่ต้องร่วงลงมา ถ้าไม่เสียชีวิตก็ต้องบาดเจ็บสาหัส
     แม้แต่เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) นักประดิษฐ์คนสำคัญของโลกชาวอิตาเลียน ก็ยังมีความฝันว่าคนเราสามารถที่จะบินได้โดยอาศัยแรงกระพือปีกประดิษฐ์เลียนแบบการบินของนก เขาได้ร่างเครื่องจักรบินหลายแบบลงในสมุดบันทึกโดยสังเกตจากการบินของนกและค้างคาวและยังออกแบบเครื่อจักรที่มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบันอีกด้วย แต่สิ่งประดิษฐ์ตามจินตนาการของดาวินชีนั้นไม่สามารถบินได้จริง
     สาเหตุสำคัญก็คือ กล้ามเนื้อของมนุษย์ไม่สามารถกระพือแขนให้ได้ความเร็วเทียบเท่ากับการกระพือปีกของนก นำ้หนักตัวของนกก็เบากว่ามนุษย์และมีกล้ามเนื้ออันแข็งแรงเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว สำหรับมนุษย์เองนั้น ลิลีนทาลได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบินของมนุษย์โดยอาศัยปีกเทียม ซึ่งอย่างเก่งที่สุด เขาทำได้แค่ร่อนลงจากเนินเขานานเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น  

เครื่องบินลำแรกของโลก


     
     เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีก่อน บนภูเขาทราย ณ บริเวณชายฝั่งทะเลแอตแลนติกของสหรัฐอเมริกา  ออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรารู้จักันว่าเครื่องบิน และมันก็จะเป็นลำแรกของโลกอีกด้วย ปีกขึ้นเครื่องจักบินที่ประกอบขึ้นเองจากไม้ ผ้า สายเปียโนและโซ่รถจักรยาน เขานอนราบลงบนเครื่องจักรนั้นแล้วบังคับให้มันลอยขึ้นเหนือพื้นดินได้นาน 12 วินาที ก่อนที่จะกระแทกลงสู่พื้น นี่ถือเป็นวินาทีที่สำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การบินของมนุษย์ชาติเลยทีเดียว
     ในปัจจุบันเครื่องบินถือได้ว่าเป็นหนึ่งในยานพาหนะที่สำคัญมาก ในแต่ละปีมีผู้โดยสารกว่าพันล้านคนที่เดินทางโดยเครื่องบินที่สามารถอยู่บนอากาศได้นานหลายชั่วโมง นักบินอวกาศยังเดินทางออกไปนอกโลกและท่องไปไกลจนถึงดวงจันทร์ มนุษย์เราก็สามารถทำความฝันที่จะบินได้เหมือนนกให้เป็นความจริงขึ้นมาได้