ต้นกำเนิดของเครื่องบิน
เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วทีี่มนุษย์ปรารถนาที่จะโบยบินบนท้องฟ้าได้เหมือนนก โดยสังเกตุการบินของนก นกผ่านกระบวนการวิวัฒนนาการจนมีสรีระที่เหมาะแก่การบิน มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีกระดูกเบา มีขนป้องกันการไหลทะลุผ่านของอากาศ
โดยทางสรีระแล้ว มนุษย์ไม่เหมาะที่จะบินได้ด้วยกำลังของตนเอง คนมีกล้ามเนื้ออกที่ไม่แข็งแรงพอ ไม่มีโครงกระดูกที่พรุนเพื่อลดนำ้หนัก ไม่มีหัวใจที่สูบฉีดโลหิตได้เร็วพอ การบินด้วยกำลังตนเองของมนุษย์จึงล้มเหลวมาโดยตลอด จนกระทั่ง พอล แมคครีดี ผู้ได้สมญานามว่า "อิคารุสยุดใหม่" ทำได้สำเร็จด้วยเครื่องบินกอสซาเมอร์ คอนดอร์ ในปี 1977

แม้แต่เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) นักประดิษฐ์คนสำคัญของโลกชาวอิตาเลียน ก็ยังมีความฝันว่าคนเราสามารถที่จะบินได้โดยอาศัยแรงกระพือปีกประดิษฐ์เลียนแบบการบินของนก เขาได้ร่างเครื่องจักรบินหลายแบบลงในสมุดบันทึกโดยสังเกตจากการบินของนกและค้างคาวและยังออกแบบเครื่อจักรที่มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบันอีกด้วย แต่สิ่งประดิษฐ์ตามจินตนาการของดาวินชีนั้นไม่สามารถบินได้จริง
สาเหตุสำคัญก็คือ กล้ามเนื้อของมนุษย์ไม่สามารถกระพือแขนให้ได้ความเร็วเทียบเท่ากับการกระพือปีกของนก นำ้หนักตัวของนกก็เบากว่ามนุษย์และมีกล้ามเนื้ออันแข็งแรงเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว สำหรับมนุษย์เองนั้น ลิลีนทาลได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบินของมนุษย์โดยอาศัยปีกเทียม ซึ่งอย่างเก่งที่สุด เขาทำได้แค่ร่อนลงจากเนินเขานานเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
เครื่องบินลำแรกของโลก
เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีก่อน บนภูเขาทราย ณ บริเวณชายฝั่งทะเลแอตแลนติกของสหรัฐอเมริกา ออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรารู้จักันว่าเครื่องบิน และมันก็จะเป็นลำแรกของโลกอีกด้วย ปีกขึ้นเครื่องจักบินที่ประกอบขึ้นเองจากไม้ ผ้า สายเปียโนและโซ่รถจักรยาน เขานอนราบลงบนเครื่องจักรนั้นแล้วบังคับให้มันลอยขึ้นเหนือพื้นดินได้นาน 12 วินาที ก่อนที่จะกระแทกลงสู่พื้น นี่ถือเป็นวินาทีที่สำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การบินของมนุษย์ชาติเลยทีเดียว
ในปัจจุบันเครื่องบินถือได้ว่าเป็นหนึ่งในยานพาหนะที่สำคัญมาก ในแต่ละปีมีผู้โดยสารกว่าพันล้านคนที่เดินทางโดยเครื่องบินที่สามารถอยู่บนอากาศได้นานหลายชั่วโมง นักบินอวกาศยังเดินทางออกไปนอกโลกและท่องไปไกลจนถึงดวงจันทร์ มนุษย์เราก็สามารถทำความฝันที่จะบินได้เหมือนนกให้เป็นความจริงขึ้นมาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น