Ads 468x60px

.

Sample Text

Sample text

Introduction

Social Icons

Blogroll

About

Blogger templates

Blogger news

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

HAL Dhruv Mk.3 เฮลิคอปเตอร์โจมตีแห่งกองทัพบกอินเดีย

HAL Dhruv Mk.3 เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี สร้างโดยบริษัท Hindustan Aerenautics Limited ของอินเดีย โดยความร่วมมือจากบริษัท Messerschmitt-Bolkow-Blohm (MBB) ของเยอรมนี เริ่มบินครั้งแรกในวันที่ 20 สิหาคม 1992 แต่เนื่อจากจากการเปลี่ยนแปลงของกองทัพบกอินเดีย และขาดงบการลงทุน ทำให้พัฒนาการต้องล่าช้าลง
   HAL Dhruv Mk.3 ได้รับการพัฒนาให้สามารถทำงานได้หลากหลายบทบาท ให้เหมาะกับการทำงานทางพลเรือน และในการบินพาณิชย์ แบบใช้งานทางทหารเพื่อการขนส่งลาดตระเวน และการส่งกลับทางการแพทย์ แถมยังมีการติดตั้งปืนในตัวอีกด้วย HAL ถูกส่งออกครั้งแรกไปยังเนปาลและอิสราเอล และอีกหลายประเทศยังให้ความสนใจอยู่
HAL Light Combat helicopter 
   HAL Dhruv Mk.3 ถูกพัฒนาเป็น HAL Light Combat helicopter (LCH) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีขนาดเบา ของกองทัพบกอินเดีย โดย HAL ถูกผลิตออกมาใช้งานทั้งสิ้น 105 เครื่อง ยังเดินสายการผลิตอยู่ถึงปัจจุบัน และยังมีประจำการในบางประเทศอีกด้วย


รายละเอียด
นักบิน                  2 นาย
ผู้โดยสาร            14 คน
นำหนักตัวเปล่า  7,150 ปอนด์
นำ้หนักบรรทุกสูงสุด      4,950 ปอนด์
จุเชื้อเพลิงสูงสุด  2,320 ปอนดื
ถังเชื้อเพลิงภายนอก    2 ถัง ถังละ 250ลิตร
เครื่องยนต์          Two Turbomeca Ardiden Max Power 1,442 shpea (2min)
ความเร็วสูงสุด    178 kt.
เพดานบินสูงสุด  23,056 ft


อ้างอิง
นิตยสาร tango 233/2555


วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Fieseler Fi 156 C-2 Storch (Stork) เครื่องบินลาดตระเวนที่เด่นที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2

Fieseler Fi 156 C-2 storch เป็นเครื่องบินที่เด่นมากในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งออกแบบมาเพื่อการขึ้นลงในระยะทางสั้นๆ และยังจัดเป็นเครื่องบินสื่อสารขนาดเล็กของเยอรมนีที่สร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1937 จนถึงปี 1949 โดลผลิตออกมาใช้งานมากกว่า 2,900 เครื่อง
Benito Mussolini ผู้นำเผด็จการอิตาลี
   Storch ถูกใช้งานในทุกสมรภูมิในยุโรปและแอฟริกาเหนือ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มีชื่อเสียงที่สุดใน Operation Eiche ในการช่วยนำเผด็จการอิตาลี  Benito Mussolini ที่ถูกปลดจากตำแหน่งออกมาจากยอดเขาที่สูงชันใกล้ Gran Sasso การรบในแอฟริกาเหนือ รอมเมลใช้ Storch ในการเดินทางไปตรวจเยี่ยมแนวรบระหว่างสงครามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือ ระหว่างสงคราม Storch ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดได้หลายสิบเครื่อง โดยอังกฤษยึดไว้ได้ 145 เครื่อง 64เครื่อง มอบให้ฝรั่งเศสเพื่อใช้เป็นค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมนี
 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้นำ Storch มาใช้งานในอินโดจีนและสงครามในอัลจีเรีย ต่อมาประเทศแถบภูเขาในยุโรปหลายประเทศใช้งาน Storch  ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภูมิประเทศที่ยังมีความต้องการเครื่องบินขึ้นลงในระยะสั้นๆ Storch ยังคงใช้งานในปัจจุบัน เห็นได้จากการแสดงเครื่องบินทั้งหลายทั่วโลก


รายละเอียด
ลูกเรือ                     3 นาย
ยาว                        9.90 m
สูง                         3.05 m
กางปีก                  14.25 m
นำ้หนักตัวเปล่า     930 kg
เครื่องยนต์            Argus As 10 C-3 V8
ความเร็วสูงสุด     175 km/h
เพดานบินสูงสุด   4,600 m (45,090 ft)

โครงสร้างของ Storch


อ้างอิง
นิตยสาร Tango 241/2555 

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Consolidated PBY Catalina เรือบินทะเลของสหรัฐที่ใช้มากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่2

PBY Catalina เป็นเรือบินทะเลของอเมริกัน (American Flying Boat) สร้างโดย Consolidated Aircraft เป็นเครื่องบินทะเลแบบหนึ่งที่มีการนำไปใช้งานมากที่สุด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
   ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำไปใช้งานในการต่อต้านเรือใต้นำ้ ลาดตตระเวน ทิ้งระเบิด คุ้มกันเรือลำเลียง ค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเฉพาะทางทะเล รวมทั้งการขนส่งสัมภาระ และยุทธบริภัณฑ์
   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 PBY ถูกสร้างออกมามากกว่า 4,000 เครื่อง ถูกนำไปใช้งานในหลายสมรภูมิ ด้วยความโดดเด่นอย่างประเมินค่ามิได้ในสงครามกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในปีแรกของสงครามในแปซิฟิก เพราะ PBY และ Boeing B-17 Flying Fortress เป็นเครื่องบินเพียง 2 แบบ ที่สามารถปฏิบัติงานได้ในระยะไกล จึงนำมาใช้งานในทุกบทบาทในสงคราม จนรุ่นใหม่ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่
PBY ขณะจอดบนผิวนำ้
 Catalina มีส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างโดดเด่น เนื่องจากเป็นเครื่องบินปีกสูง และมีป้อมสังเกตณ์ขนาดใหญ่ที่ข้างลำตัวที่ช่วยในการมองเห็นเป็นอย่างดี ประกอบกับสามารถบินได้ไกล และนานแถมยังสามารถลงจอดฉุกเฉินบนผิวนำ้้ได้ดีด้วย ทำให้เหมาะกับงานลาดตระเวนเป็นอย่างดี


รายละเอียด
ลูกเรือ                  8 นาย
ยาว                     19.46 m
สูง                       6.15 m
กางปีก                31.70 m
นำ้หนักตัวเปล่า  9,485 kg
เครื่องยนต์         Pratt&Whitney R-1830-92 Twin wasp radial
ความเร็วสูงสุด  314 km/h
เพดานบินสูงสุด   4,000 m


อ้างอิง
นิตยสาร Tango 236/2555


Vought F4U Corsair เครื่องบินขับไล่แห่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ

F4U เป็นเครื่องบินขับไล่ของนาวิกโยธินสหรัฐฯในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ออกแบบมาให้สามารถปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ สร้างโดย บริษัท Chance Vought ในปี 1940 และถูกนำมาใช้งานทั้งหมด 12,571 เครื่อง เริ่มบินครั้งแรกในวันที่ 29 พฤษภาคม 1940 และต่อมาถูกพัฒนาไปเป็น เครื่องบินรุ่น F2G "Super" Corsair
F4U ในสงครามเกาหลี
   F4U เริ่มเข้าสงครามหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาถูกใช้ในสงครามเกาหลี ภายหลัง F4U ผลิตได้ไม่ทันตามความต้องการ บริษัท Vought จึงให้บริษัท Goodyear และ Brewster เข้ามาร่วมสร้าง คอร์แซร์ (Corsair) ที่กู๊ดเยียร์สร้าง มีรหัสใหม่เป็น FG และที่ Brewster สร้างมีรหัสเป็น F3A
   
F4U ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ
หลังจากการสร้างต้นแบบเครื่องบินคอร์แซร์ให้กองทัพเรือสหรัฐฯ แต่หลังจากนั้นคอร์แซร์ ถูกมอบให้นาวิกโยธินสหรัฐฯ เพราะเนื่องมาจากนักบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ เคยดูหมิ่น F4U ว่าเป็น "hog" "hosenose" หรือ "Bent wing windowmaker" หลังจากนั้นกองทัพเรือยังใช้ Grumman F6F Hellcat ที่มีสมรรถนะไม่ดีเท่า F4U แต่ลงบนเรือได้ง่ายกว่า
   ในปี 1943 F4U ปฏิบัติงานออกจากฐานบนเกาะกัวดาลดะนัล และฐานบินอื่นๆ ในเกาะโซโลมอน และในต้นปี 1945 คอร์แซร์เข้าสงครามเต็มรูปแบบ "Mud Fighter" โจมตีด้วยระเบิดแรงสูง นาปล์ามและจรวดแรงสูง (HVAR) คอร์แซร์สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสามารถรอบตัว สามารถทำได้ทุกอย่าง และมีผลงานเด่นชัดในการเข้าร่วมการรบที่เกาะพาเลา อิโวจิม่าและโอกินาวา

รายละเอียด
ลูกเรือ                               1 นาย
ยาว                                   10.1 m
สูง                                     4.50 m
กางปีก                              12.5 m
นำ้หนักตัวเปล่า                4,174 kg
นำ้หนักเมื่อบรรทุกเต็มที่   6,653 kg
เครื่องยนต์                        One Pratt & Whitney R-2800-18w Radial 2,400 hp
ความเร็วสูงสุด                  718 km/h
เพดานบินสูงสุด               12,647 m (41,500 ft)

อ้างอิง
นิตยสาร Tango 229/2555

   

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Junkers Ju 87 Stuka เครื่องบินดำทิ้งระเบิดที่ถูกใช้งานมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ของลุฟท์วัฟเฟ่

Ju 87 ในปี 1935
Junkers Ju 87 Stuka หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stuka เป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิด 2 ที่นั่ง สำหรับโจมตีภาคพื้นดิน ของกองทัพอากาศเยอรมนี ออกแบบโดย Hermann Pohlmann บินครั้งแรกในวันที่ 17 กันยายา 1935 และถูกประจำการในปี 1936 ใช้งานในกองบินลุฟท์วัฟเฟ่ และชาติอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรของเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2




   ถึงแม้ stuka ดูแล้วว่าเหมือนจะแข็งแรงบึกบึน ทิ้งระเบิดได้อย่างแม่นยำ และมีผลงานดี แต่มีจุดอ่อนคือ Ju 87 ก็ยังตกเป็นเหยื่อต่อเครื่องบินขับไล่ของข้าศึกได้ง่าย จุดอ่อนของ Ju 87 เริ่มปรากฏเด่นชัดในสงคราม Battle of Britain ก็คือ ความไม่คล่องตัว ความเร็วที่น้อยไป และอาวุธป้องกันที่มีน้อย หมายความว่า Stuka ต้องใช้เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงคุ้มกันไปด้วยจึงจะสามารถทำงานได้ผล แต่แล้วหลังจากสงคราม Battle of Britain  Stuka ก็ประสบผลสำเร็จมากขึ้น จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังมีคุณค่าต่อกองกำลังเยอรมนีในสงครามแหลมบอลข่าน แนวรบทางแอฟริกา และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงต้นๆ ของสงคราม
   ช่วงปลายสงคราม ลุฟท์วัฟเฟ่ สูญเสียการครองอากาศแทบทุกแนวรบ Ju 87 ก็ยังตกเป็นเป้าหมายของข้าศึกได้ง่าย และยังไม่มีเครื่องบินดำทิ้งระเบิดรุ่นใหม่มาแทน จึงจำเป็นต้องใช้ Ju 87 ต่อไป และยังถูกใช้งานจนจบสงคราม โดยสร้างออกมาทั้งหมด 6,500 เครื่อง ตั้งแต่ปี 1936 ถึง 1944


รายละเอียด
ยาว                      11.50 m
สูง                        3.70 m
กางปีก                  13.80 m
นำ้หนักตัวเปล่า       3,400 kg
เครื่องยนต์             Junkers Jumo 211 J-1 12 cylinders Inverted V piston engine 1 เครื่อง
ความเร็วสูงสุด        410 km/h
เพดานบินสูงสุด      7,290 m



อ้างอิง
นิตยสาร Tango 234/2555   


วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Messerschmitt Bf 109 (Me109) เครื่องบินขับไล่ที่เป็นตำนานของกองทัพอากาศเยอรมนี

Messerschmitt Bf 109 หรือในชื่อ Me 109 เป็นเครื่องบินที่เป็นตำนานของเยอรมนี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกแบบโดย Willy Messerschmitt และ Robert Lusser  Me109 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น เริ่มบินครั้งแรกในวันที่ 29 พฤษภาคม 1935 ถูกใช้งานในกองบินลุฟท์วัฟเฟ่ (Luftwaffe) กองทัพอากาศฮังการี กองทัพอากาศโรมาเนีย และกองทัพอากาศสเปน
   Bf 109 เข้าสงครามครั้งแรกในสงครามกลางเมืองสเปน และเป็นเครื่องบินขับไล่หลักของลุฟท์วัฟเฟ่ ต่อมา Bf 109 ถูกนำไปใช้งานในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถูกนำไปใช้เป็นเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด และลาดตระเวนถ่ายภาพ และนำไปโจมตีเกาะอังกฤษ 
   ในปี 1942 ได้รับทดแทนเป็นบางส่วนในยุโรปตะวันตกด้วยเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของเยอรมนี Focke-Wulf Fw 190 แต่ก็ยังมีการใช้งานด้านแนวรบในด้านตะวันออกและการป้องกันอาณาจักรไรซ์ รวมทั้งปฏิบัติการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และร่วมกับกองกำลังแอฟริกาของนายพล Erwin Rommal และยังใช้งานกับชาติพันธมิตรของเยอรมนี
ภาพยนตร์เรื่อง Battle of Britain
   Bf 109 ทำสถิติมีชัยชนะทางอากาศสูงสุด มากกว่าเครื่องบินขับไล่ทุกรูปแบบในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสามารถทำลายเครื่องบินข้าศึกได้ถึง 15,000 เครื่อง
   ในปัจจุบัน Bf 109 อยู่ในสถานะจัดแสดง Bf 109 ปรากฏในภาพยนตร์ เรื่อง Battle of Britain ในบทบาทของเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเยอรมนี



รายละเอียด
นักบิน                        1 นาย
ยาว                            8.95 m
สูง                             2.60 m
กางปีก                       9.925 m
นำ้หนักตัวเปล่า         2,247 kg
เครื่องยนต์                Daimler-Benz DB 605A-1 Liquid cooled Inverted V12 1,475 PS
ความเร็วสูงสุด         640 km/h
เพดานบินสูงสุด       12,000 m

อ้างอิง
นิตยสาร Tango 232/2555







วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Sukhoi Superjet 100 เครื่องบินโดยสารรุ่นใหม่ของรัสเซีย

Sukhoi Superjet 100 เป็นเครื่องบินสำหรับท้องถิ่นในระยะสั้นๆ ที่ทันสมัย ออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ Embraer และ Bombardier สร้างมาเพื่อทดแทน Tupolev Tu-134




Sukhoi Superjet 100 ถูกออกแบบโดย Sukhoi Civil Aircraft แต่ถูกสร้างโดย Komsomolsk-on-Amur Aircraft Production Association ประเทศรัสเซีย เริ่มใช้งานครั้งแรกในวันที่ 21 เมษายน 2011 โดยบริษัท Armavia  Sukhoi Superjet 100 ยังอยู่ในสายการผลิตจนถึงปัจจุบัน
Superjet 100 เป็นโครงการเครื่องบินโดยสารพลเรือนที่สำคัญ และประสบความสำเร็จที่สุด ของอุตสาหกรรมการบินรัสเซีย

รายละเอียด
ลูกเรือ                  2 นาย
ความยาว             26.44 m
กางปีก                 27.80 m
สูง                       10.28 m
เครื่องยนต์          Powerjet SaM 146 จำนวน 2 เครื่อง
ความเร็วสูงสุด    828 km/h
เพดานบินสูงสุด  12,500 m
นำ้หนักตัวเปล่า   25,100 kg
นำหนักบรรทุกสูงสุด   9,130 kg

อ้างอิง
นิตยสาร Tango  238/2555

Pilatus PC-12 เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กของสวิตเซอร์แลนด์

Pilatus PC-12 เป็นเครื่องบินโดยสารและขนส่งขนาดเล็ก ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 1 เครื่อง สร้างโดยบริษัท Pilatus Porter ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตลาดส่วนใหญ่ ใช้ในการขนส่งภาคธุรกิจและสายการบินท้องถิ่น เริ่มมีการบินครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปี 1991 และเปิดตัวในปี 1994
PC-12 ส่วนใหญ่มักมีการใช้งานร่วมกันระหว่างบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ (Corporate Transport) PC-12 มากกว่า 1,000 เครื่อง ขายออกไปสู่ตลาด ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้งานทางด้านพลเรือน


รายละเอียด
ลูกเรือ               1-2 นาย
ความจุ              9 ที่นั่ง
นำ้หนักบรรทุกสูงสุด        1,500 kg
ความยาว          14.40 m
กางปีก              16.23 m
สูง                     4.26 m
นำ้หนักตัวเปล่า 2,761 kg
เครื่องยนต์         Pratty & Whitney Canada PT6 A-67P Turboprop                  (895kW) 1 เครื่อง
ใบพัด                Hartzell HC-E4A-3 D/E 10477 K (4 Aluminum Blades)

อ้างอิง
นิตยสาร Tango 240/2555

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Mil Mi-17 เฮริคอปเตอร์สัญชาติรัสเซีย

Mil Mi-17 หรือในชื่อ Mil Mi 8 M ที่ใช้งานในรัสเซีย ชื่อเรียกขานของ NATO คือ "HIP" เป็นเฮลิคอปเตอร์สัญชาติรัสเซีย ที่ในปัจจุบันยังเดินสายการผลิตอยู่ เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง สามารถดัดแปลงเพื่อติดตั้งปืนหรืออาวุธ
อื่นๆได้ 
Mil Mi-17 ที่ประเทศไทย
Mil Mi-17 ออกแบบโดย Mil Moscow Helicopter Plant แต่ถูกสร้างโดย Kazan Helicopter Plant และถูกประจำการครั้งแรกในปี 1970 และยังผลิตออกมาใช้งานมากกว่า 12,000 ลำ



ในเดือนพฤษภาคม 1999 ในระหว่าง Operation "Safe Sugar" Mi-17 ถูกปฏิบัติการ โดยกองทัพอากาศอินเดีย ในปี 2001 กองทัพอากาศมาเซโดเนียใช้ Mi-17 ในการปราบปรามผู้ก่อความวุ่นวายของชาวแอลเบเนีย


ในปี 2011 Mi-17 ถูกใช้ในสงครามกลางเมืองลิเบีย โดยกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านกัดดาฟี ต่างก็ใช้ Mi-17 กันทั้งสองฝ่าย





รายละเอียด
ลูกเรือ                                      3 นาย
ยาว                                         18.465 m
สูง                                           4.76 m
เส้นผ่านศูนย์กลางในพัด        21.25 m
นำ้หนักตัวเปล่า                      7,489 kg
นำ้หนักเมื่อบรรทุกเต็มที่       11,100 kg
นำ้หนักวิ่งขึ้นสูงสุด               13,000 kg
เครื่องยนต์        2Klimov Tv3-117 VMTurboshafts 1,633 kW each
ความเร็วสูงสุด                      250km/h



อ้างอิง
นิตยสาร Tango 235/2555

Douglas A-1 Skyraider เครื่องบินโจมตีแห่งยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

Douglas A-1 skyraider เป็นเครื่องบินโจมตีที่นั่งเดียวของสหรัฐที่ใช้ในสงครามโลกครั้ง ที่ 2 โดยพัฒนามาจากเครื่องบิน Douglas A-2D skyhawk ที่เข้าประจำการระหว่างปลายทศวรรษที่ 1940 ถึงต้นทศวรรษที่ 1980 และเป็นเครื่องบินใบพัดที่ไม่เข้ายุดสมัยกับยุคไอพ่น มีชื่อเล่นว่า "Spad"
Douglas A-1 skyraider มีข้อเสียอบ่างหนึ่งคือบินได้ช้า โดยใช้เครื่องยนต์ไอพ่น A-10 Thunderbolt II ออกแบบระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามความต้องการของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ต้องการเครื่องบินโจมตีที่นั่งเดียว พิสัยไกล สมรรถนะสูง ดำทิ้งระเบิดและตอร์ปิโด มีฐานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นก่อน
Douglas A-1 skyraider ในสงครามเกาหลี
Douglas A-1 skyraider  ถูกใช้งานอย่างจริงจังในสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม และได้ถูกปลดประจำการในปี ค.ศ. 1985 และในปัจจุบัน Douglas A-1 skyraider  อยู่ในสถานะตั้งแสดง






รายละเอียด
ลูกเรือ           1 นาย
ยาว               11.84 m
สูง                 4.78 m
กางปีก          16.25 m
นำ้หนักตัวเปล่า     5,429 kg
เครื่องยนต์    Wright R 3350-26 WA radial engine
กำลังเครื่องยนต์    2,000 kW
ความเร็วสูงสุด     518 km/h

อ้างอิง
นิตยสาร Tango 239/2555

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

A-4 Skyhawk เครื่องบินแห่งยุค 1960 ของสหรัฐ


 
   A-4 Skyhawk เป็นเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ออกแบบมาให้กับกองทัพเรือสหรัฐและกองนาวิกโยธินสหรัฐ ถูกออกแบบโดย เอ็ด ไฮน์เนแมน มันยังถูกใช้ในสงครามเวียดนามและสงครามหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ มันเป็นเครื่องบินปีกสามเหลี่ยมที่มีเครื่องยนต์ไอพ่นหนึ่งเครื่องที่ออกแบบและผลิตโดยดักลาส แอร์คราฟท์ คอมพานี (เป็นแมคดอนเนลล์ ดักลาสในเวลาต่อมา) สกายฮอว์คเดิมทีมีชื่อว่า เอ4ดี ตามระบบระบุชื่อของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2505 เริ่มใช้ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2499 และในปัจจุบันมีประจำการอยู่ทั่วโลกประมาณ 3,000 ลำ

รายละเอียด
  • ผู้สร้าง :บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท:เจ๊ตโจมตีทิ้งระเบิด ที่นั่งเดียว ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต แพรทท์ แอนด์วิทนีย์ เจ 52 พี-408 เอ ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 5,080 กิโลกรัม 1 เครื่อง
  • กางปีก: 8.38 เมตร
  • ยาว: 12.27 เมตร
  • สูง: 4.57 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 24.16 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 4,747 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ: 11,113 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูงในการบินระดับปกติ: 1,038 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่สูงสุด: 2,572 เมตร ที่ระดับน้ำทะเล
    • 763 เมตร ที่ระยะสูง 7,620 เมตร
  • พิสัยบินไกลสุด: 3,307 เมตร
  • อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ ขนาด 20 มม. พร้อมกระสุนกระบอกละ 200 นัด 2 กระบอกที่โคนปีก
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้น บลูพับ
    • จรวดยิงจากอากาศสู่อากาศ
    • จรวดยิงจากอากาศสู่พื้น
    • ลูกระเบิดแรงสูง
    • ลูกระเบิดนิวเคลียร์
    • ตอร์ปีโด
    • กระเประปืนที่ใต้ลำตัว 1 ตำบล
    • รับน้ำหนักได้ 3,500 ปอนด์ ที่ใต้ปีกข้างละ 2 ตำบล ปีกในรับน้ำหนักอาวุธได้ 2,250 ปอนด์ ปีกนอกรับน้ำหนักได้ 1,000 ปอนด์ รวม 5 ตำบล 10,000 ปอนด์


Panavia Tornado เครื่องบิน 3 สัญชาติ


Panavia Tornado เป็นเครื่องบินระหว่างชาติ โดยความร่วมมือทางเทคโนโลยี จากบริษัท 3 บริษัท คือ บริษัท บีเอซี ของอังกฤษ บริษัทเมสเซอร์สมิทท์ เบอลโกว์ โบลห์ม แห่งเยอรมัน และ บริษัทแอลิตาเลีย ของอิตาลี รวมกันทางด้านเทคโนโลยีตั้งเป็นบริษัท พานาเวีย โดยทั้ง 3 บริษัทได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ เพื่อพัฒนาและสร้างเครื่องบินรบเอนกประสงค์สองที่นั่งและสามารถทำงานได้หลายรูปแบบเพื่อใช้สำหรับกองทัพนาโต
ระบบเครื่องยนต์ไอพ่นมีระบบสันดาปท้ายช่วยให้สามารถทำความเร็วได้ถึง 2.2 มัค หรือ 2,335 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ใช้ระบบเทคโนโลยี ฟลาย-บาย-ไวร์ และติดตั้งเรดาร์แบบที่สามารถช่วยให้บินต่ำได้ด้วยความเร็วระดับสูง สามารถบรรทุกระเบิดได้สูงสุดถึง 18,000 ปอนด์
รายละเอียด
  • ผู้สร้าง บริษัทพานาเวีย แอร์คารฟท์ จีเอ็มบีเอช (โครงการร่วมมือระหว่างชาติ เยอรมัน/อังกฤษ/อิตาลี)
  • ประเภท เครื่องบินรบเอนกประสงค์ 2 ที่นั่งเรียงกัน
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน เทอร์โบ-ยูเนียน อาร์บี 199-34 อาร์-4 ให้แรงขับเครื่องละ 3,855 กิโลกรัม และ 6,800 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 13.9 เมตร เมื่อกางเต็มที่
    • 8.6 เมตร เมื่อลู่ปีกไปข้างหลัง
  • ยาว 16.7 เมตร
  • สูง 5.7 เมตร
  • พื้นที่ปีก 30 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรวม 18,145 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 25,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด 2.1 มัค (2,230 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 11,000
    • 1.1 มัค (1,350 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 150 เมตร
  • รัศมีทำการรบ 1,200 กิโลเมตร เมื่อบิน สูง-ต่ำ-สูง
    • 725 กิโลเมตร เมื่อบิน ต่ำ-ต่ำ-ต่ำ
  • พิสัยบินไกลสุด กว่า 4,830 กิโลเมตร

อ้างอิง


วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Dassault-Breguet/Dornier Alpha Jet เจ็ตสัญชาติฝรั่งเศส-เยอรมันนี


อัลฟาเจ๊ต  เป็นเครื่องบินรบที่ฝรั่งเศสและเยอรมันร่วมมือสร้างขึ้น เครื่องต้นแบบอัลฟาเจ๊ต บินครั้งแรกโดย บริษัทดัซโซลท์-เบร์เกต์ และ บริษัท ดอร์เนีย์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 1971 เครื่องแรกจากการผลิตเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1977

รายละเอียด
  • ผู้สร้าง บริษัทดัซโซลท์-เบร์เกต์ และ บริษัท ดอร์เนีย์ (ฝรั่งเศส/เยอรมัน)
  • ประเภท เจ๊ตฝึกขั้นสูง 2 ที่นั่ง/สนับสนุนหน่วยทหารภาคพี้นดิน
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน เทอร์โบเมคา สเนคมา ลาร์ซาค 04-ซี 5 ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 1350 กิโลกรัม 2 เครื่อง
  • กางปีก 9.11 เมตร
  • ยาว 12.29 เมตร
  • สูง 4.19 เมตร
  • พื้นที่ปีก 17.5 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 3,150 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งปกติ 4,890 กิโลกรัม เมื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก
    • 6,000 กิโลกรัม เมื่อใช้สนับสนุนภาคพื้นดิน
  • อัตราเร็วขั้นสูง .85 มัค (901กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 12,190 เมตร
  • อัตราไต่ 59 เมตร/นาที
  • เพดานบินใช้งาน 14,020 เมตร
  • รัศมีทำการรบเมื่อใช้สนับสนุนภาคพื้นดินติดอาวุธเต็มที่
    • 410 กิโลเมตร เมื่อบิน ต่ำ-ต่ำ-ต่ำ
    • 630 กิโลเมตร เมื่อบิน สูง-ต่ำ-สูง
  • พิสัยบินไกลสุด 2,600 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอก
  • บินได้นาน 2 ชั่วโมง 35 นาที
  • อาวุธ
    • กระเประปืนใหญ่อากาศ เมาเซอร์ ขนาด 27 มม. (อัลฟาเจ๊ต เอ )
    • ปืนใหญ่อากาศ เดฟา 533 ขนาด 30 มม. (อัลฟาเจ๊ต อี)
    • อาวุธปล่อยลูกระเบิดและจรวดที่ใต้ปีกข้างละ 2 แห่ง เป็นน้ำหนักรวม 2,200 กิโลกรัม


CASA C.212 Aviocar


CASA C.212 Aviocar สร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจ 6 ประการคือลำเลียงพลร่มพร้อมอาวุธ 16 นาย ขนส่งทางทหาร เครื่องบินพยาบาล เครื่องบินภ่ายภาพทางอากาศ ฝึกลูกเรือ และ บรรทุกผู้โดยสาร เครื่องต้นแบบ คาซา ซี.212 สร้างโดย บริษัทคอนทรัคชั่นเนส แอโรบอติคัส เอสเอ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติสเปนบินครั้งแรกเมื่อวันที่26 มีนาคม ค.ศ. 1971 และประจำการในกองทัพอากาศสเปนในปี ค.ศ. 1974

รายละเอียด
  • ผู้สร้าง บริษัทคอนทรัคชั่นเนส แอโรบอติคัส เอสเอ (สเปน)
  • ประเภท ขนส่งทั่วไปสำรวจถ่ายภาพหรือฝึกการเดินอากาศ ขึ้นลงระยะสั้น เจ้าหน้าที่ 2 นาย บรรทุกพลร่มพร้อมอาวุธ 16 นาย หรือเตียงพยาบาล 18 เตียง
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบใบพัด แอรีเสิร์ท ทีพีอี 331-5-251 C ให้กำลังเครื่องละ 776 แรงม้า 2 เครื่องยนต์
  • กางปีก 19 เมตร
  • ยาว 15.20 เมตร
  • สูง 6.30 เมตร
  • พื้นที่ปีก 40 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 3,905 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 2,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักเชื้อเพลิง 1,600 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 6,300 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 370 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 3,660 เมตร
  • อัตราเร็วเดินทางประหยัด 315 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 3,660 เมตร
  • อัตราไต่ขั้นสูง 548 เมตร/นาที ที่ระดับน้ำทะเล
    • 106 เมตร/นาที เมื่อใช้เครื่องยนต์เดียว
  • เพดานบินใช้งาน 8,140 เมตร
    • 4115 เมตร เมื่อใช้เครื่องยนต์เดียว
  • ระยะทางวิ่งขึ้นพ้น 15 เมตร 484 เมตร
  • ระยะทางร่อนลงจาก 15 เมตร 358 เมตร
  • พิสัยบิน 1,760 กิโลเมตร เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มที่และบรรทุกน้ำหนัก 1,045 กิโลกรัม
    • 480 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด




F-5 เครื่องบินของนอร์ทอป


  เครื่องบินเอฟ 5 เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิบัติการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2505
รายละเอียด สร้างโดย โดยบริษัทนอร์ธรอป

รายละเอียด
  • ผู้สร้าง บริษัท นอร์ธรอป แอร์คราฟท์ (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท เจ๊ตขับไล่ยุทธวิธีที่นั่งเดียว
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต เจเนอรัล อีเล็กตริค เจ 85-ยีอี-21 ให้แรงขับเครื่องละ 1,588 กิโลกรัม และ 2,268 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 8.13 เมตร
  • ยาว 14.68 เมตร
  • สูง 4.06 เมตร
  • พื้นที่ปีก 17.29 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 4,346 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 11,192 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด ไม่เกิน 1,314 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อมีน้ำหนักปฏิบัติการรบ 6,010 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 1.63 มัค ที่ระยะสูง 10,975 เมตร เมื่อเครื่องบินหนัก 10,975 กิโลกรัม
  • เพดานบินใช้งาน 15,790 เมตร
  • รัศมีทำการรบ 917 กิโลเมตร
  • พิสัยบิน 2,943 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้

รุ่นของเอฟ 5

  • F-5A Freedom Fighter
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว
  • F-5B Freedom Fighter
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง
  • F-5C Skoshi Tiger
เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงในบางจุด เช่น การติดตั้งท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
  • F-5D
เครื่องบินขับไล่รุ่นสองที่นั่งซึ่งไม่ได้รับการผลิตจริง
  • F-5E Tiger II
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวรุ่นปรับปรุง
  • F-5F Tiger II
เครื่องบินขับไล่ที่สองที่นั่งรุ่นปรับปรุง
  • F-5G
เปลี่ยนเครื่องยนต์จากสองเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เดียว ต่อมาคือเอฟ-20
  • F-5N
รุ่นฝึกของกองทัพเรือสหรัฐ
  • F-5S
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์
  • F-5T
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์
  • F-5T Tigres
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวและสองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศไทย
  • F-5EM
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล
  • F-5FM
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล
  • F-5E Tiger III
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี
  • F-5F Tiger III
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี
  • RF-5A
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
  • RF-5E Tigereye
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
  • CF-5

แหล่งข้อมูล
www.wikipedia.org

Lockheed U-2 เครื่องบินตรวจการแห่งยุค60


   ล็อกฮีด ยู-2  เป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาให้บินในระดับสูงกว่า 21,000 เมตร ขึ้นไป ถูกสร้างโดย บริษัท ล็อกฮีด แอร์คารฟท์ เซอร์วิส มีลักษณะเหมือนเครื่องร่อนติดเครื่องยนต์ ปีกยาวลำตัวเล็กบางเพื่อลดน้ำหนัก และ เครื่องยนต์สามารถทำงานในทีมีอากาศเบาบางได้ ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2498  

รายละเอียด

  • ผู้สร้าง บริษัท ล็อกฮีด แอร์คารฟท์ เซอร์วิส (สหรัฐอเมริกา)
  • ผู้ออกแบบ คลาเรนซ์ เคลลี่ จอห์นสัน
  • ประเภท เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ เพดานบินสูง ที่นั่งเดียว
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต แพรทท์ แอนด์วิทนีย์ เจ 57-ซี ให้แรงขับ 4,990 กิโลกรัม
  • กางปีก 24.38 เมตร
  • ยาว 15.11 เมตร
  • สูง 3.96 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 6,800 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 795 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทาง 740 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • เพดานบินใช้งาน กว่า 21,350 เมตร
  • พิสัยบิน 3,540 กิโลเมตร
    • 4,185 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งเชื้อเพลิงอะไหล่
  • อาวุธ ไม่ติดอาวุธ