Ju 87 ในปี 1935 |
ถึงแม้ stuka ดูแล้วว่าเหมือนจะแข็งแรงบึกบึน ทิ้งระเบิดได้อย่างแม่นยำ และมีผลงานดี แต่มีจุดอ่อนคือ Ju 87 ก็ยังตกเป็นเหยื่อต่อเครื่องบินขับไล่ของข้าศึกได้ง่าย จุดอ่อนของ Ju 87 เริ่มปรากฏเด่นชัดในสงคราม Battle of Britain ก็คือ ความไม่คล่องตัว ความเร็วที่น้อยไป และอาวุธป้องกันที่มีน้อย หมายความว่า Stuka ต้องใช้เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงคุ้มกันไปด้วยจึงจะสามารถทำงานได้ผล แต่แล้วหลังจากสงคราม Battle of Britain Stuka ก็ประสบผลสำเร็จมากขึ้น จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังมีคุณค่าต่อกองกำลังเยอรมนีในสงครามแหลมบอลข่าน แนวรบทางแอฟริกา และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงต้นๆ ของสงคราม
ช่วงปลายสงคราม ลุฟท์วัฟเฟ่ สูญเสียการครองอากาศแทบทุกแนวรบ Ju 87 ก็ยังตกเป็นเป้าหมายของข้าศึกได้ง่าย และยังไม่มีเครื่องบินดำทิ้งระเบิดรุ่นใหม่มาแทน จึงจำเป็นต้องใช้ Ju 87 ต่อไป และยังถูกใช้งานจนจบสงคราม โดยสร้างออกมาทั้งหมด 6,500 เครื่อง ตั้งแต่ปี 1936 ถึง 1944
รายละเอียด
ยาว 11.50 m
สูง 3.70 m
กางปีก 13.80 m
นำ้หนักตัวเปล่า 3,400 kg
เครื่องยนต์ Junkers Jumo 211 J-1 12 cylinders Inverted V piston engine 1 เครื่อง
ความเร็วสูงสุด 410 km/h
เพดานบินสูงสุด 7,290 m
อ้างอิง
นิตยสาร Tango 234/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น