Ads 468x60px

.

Sample Text

Sample text

Introduction

Social Icons

Blogroll

About

Blogger templates

Blogger news

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Scharnhorst เรือหลวงแห่งทัพเรือนาซี

เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์
German battleship Scharnhorst
    เรือลำนี้ คือเรือหลวงแห่งทัพเรือนาซี เยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพูดถึงรูปลักษณ์แล้ว นับว่าอาจไม่ใช่เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของทัพเรือเยอรมันในขณะนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก บิสมาร์ก และ เทียร์พิตส์ และได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในเรือรบที่ดีที่สุดลำหนึ่งของทัพเรือเยอรมัน น่าสนใจแล้วละสิ นั้นเข้าไปสัมผัสบรรยากาศของเรือลำนี้กันได้เลย
     เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์ ( German battleship Scharnhorst ) คือเรือหลวงแห่งกองทัพเรือเยอรมัน ( Kriegsmarine ) ชั้นชาร์นโฮสต์ ดังนั้นเรือลำนี้จึงเป็นเรือแม่ของชั้นนี้ด้วย ชาร์นโฮสต์ ได้รับการจำแนกชนิดของเรือ ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบาน โดยถ้าหากนับเป็นเรือประจัญบาน ก็ถือเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดรองจากเรือชั้นบิสมาร์ก แต่ถ้าหากนับเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบาน ก็ถือเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในทัพเยอรมัน เท่าที่เคยมีมา 
     ชาร์นโฮสต์ ได้รับการต่อขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1935 โดยบริษัทKriegsmarinewerft Wilhelmshaven ของเยอรมันนี บริษัทเดียวกับที่ใช้สร้าง เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ ต่อจากนั้นก็ได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1936 ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือน และได้รับคำสั่งปฏิบัติบัติการเมื่อวันที่ 7 มกราคม 1939 เรือประกอบไปด้วย ปืนใหญ่หลักขนาด 283 มม. ( 11 นิ้ว )  เพื่อใช้แทนปืนใหญ่ขนาด 380 มม. ( 15 นิ้ว ) ที่ติดตั้งบนเรือชั้นบิสมาร์ก ซึ่งทำให้เรือวิ่งช้าจึงย่อขนาดลงมา
     เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์ และเรือประจัญบานกินายสโนว์( Gneisenau ) ได้ร่วมปฏิบัติการร่วมกัน ในช่วงต้นๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อโจมตี เรือพาณิชย์อังกฤษ ระหว่างช่วงแรกของการปฏิบัติการ ชาร์นโฮสต์ สามารถ จมเรือ เอชเอ็มเอส ราวัลพิลดี ( HMS Rawalpindi ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวน ในระหว่างการปะทะกันได้เป็นผลสำเร็จ
      ในปี 1940 เรือทั้ง 2 ได้เข้าร่วม ปฏิบัติการที่ทัพนอร์เวย์ ( Operation Weserübung ) ระหว่างอยู่ที่นั่น เรือทั้ง 2 ก็ได้ร่วมกันโจมตี เอชเอ็มเอส รีนาว์น ( HMS Renown ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบาน ลำแม่ของชั้นนี้ จนเรือเสียหายหนัก และสามารถจมเรือ เอชเอ็มเอส กลอเลียสซ์ ( HMS Glorious ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวน ที่ดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษ จากการปะทะในครั้งนี้ทำให้เรือชาร์นโฮสต์ ได้รับการบันทึกว่า เป็นหนึ่งในเรือรบที่ยิงโดนเรือไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยระยะทางจาก ชาร์นโฮสต์ ถึง กลอเลียสซ์ ประมาณ 24,000 ม. หรือ 24 กม. เชียว
      ในปี 1942 หลังจากการโจมตีกองเรืออังกฤษ ก็ได้เข้าร่วมกับยุทธนาวี ใหญ่ๆหลายครั้ง ( เยอรมันใช้รหัสปฏิบัติการ ว่า "Channel Dash" ) โดยเฉพาะยุทธนาวีที่ช่องแคบอังกฤษ บริเวณฝรั่งเศสส่วนที่ถูกครอบครองโดยเยอรมัน
      ในปี 1943 ชาร์นโฮสต์ ได้ปฏิบัติการร่วมกับเรือเทียร์พิตซ์พร้อมกับเรือพิฆาตอีกหลายลำ ในนอร์เวย์ เพื่อเข้าสกัดและทำลาย กองเรือฝั่งพันธมิตรที่มุ่งไปยังโซเวียต 
      ในยุทธนาวีนอร์ทเคป กองเรือเยอรมันก็ได้ถูกกองเรือลาดตระเวนของอังกฤษเข้าสกัด ในขณะนั้น ชาร์นโอสต์ ถือเป็นเป้าของอังกฤษ เพราะมีเพียง ชาร์นโอสต์ แค่ลำเดียว แต่ต้องต่อกรกับกองเรืออังกฤษ ที่มีเรือรบมากกว่าถึง 14 ลำ ผลของสงคราม ชาร์นโฮสต์ สามารถโจมตี เรือได้ 2 ลำ และ เรือประจัญบาน 1 ลำ ( เสียหายล็กน้อย ) แต่ก็เป็นผลให้เรือลำนี้ต้องจมลงในเวลาต่อมา โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นใน เวลา 16.17 จากเรือประจัญบานดยุคออฟยอร์ก ( Duke of York ) สามารถจับเรดาร์ได้ว่า เรือชาร์นโอสต์ กำลังแล่นเข้ามา จึงสั่งระดมยิงไปยังชาร์นโอสต์ จนในเวลา 18.42 เรือประจัญบานดยุคออฟยอร์ก ยิงไปทั้งหมด 52 ลูก เข้าเป้าอย่างน้อย 13 ลูก ผลจากการยิงทำให้เรือชาร์นโฮสต์เสียหายหนัก และในที่สุด ณ เวลา 19.45 เรือก็จมลง เรือประจัญบานชาร์นโอสต์ ซึ่งเข้าไปยังจุดที่เรือจมเพื่อหาผู้รอดชีวิต ก็สามารถช่วยเหลือลูกเรือชาร์นโอสต์จากน้ำที่เย็นจัด มาได้ 36 นาย จากทั้งหมด 1,968 นาย
     และนี้คือจุดสิ้นสุดของ เรือลาดตระเวนประจัญบานที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ที่สุดในทัพเยอรมัน เท่าที่เคยมีมา.

ลักษณะจำเพาะ

  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 32,100 ตัน
  • ความยาว : 235 เมตร
  • ความกว้าง : 30 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.69 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 31 น็อต (57 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 1,669 นาย  
 

 
บลูปริ้น ชาร์นโฮสต์

 
อาวุธประจำ ชาร์นโฮสต์ 

  • ปืนใหญ่ขนาด 283 มม. (11 นิ้ว) ชนิด 3 กระบอก จำนวน 3 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) จำนวน 12 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 105 มม. (4.1 นิ้ว) จำนวน 14 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว) จำนวน 16 ป้อม
  • ปืนกลขนาด 20 มม. จำนวน 16 กระบอก
  • ท่อยิงตอร์ปิโดร์ขนาด 533 มม. จำนวน 6 กระบอก


อ้างอิง

 

      
   












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น