Ads 468x60px

.

Sample Text

Sample text

Introduction

Social Icons

Blogroll

About

Blogger templates

Blogger news

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Bismarck เรือประจัญบานระดับตำนานแห่งไรซ์ที่ 3

เรือประจัญบานบิสมาร์ค
German battleship Bismarck
     เรือบิสมาร์ค อาจกล่าวได้คำเดียวเลยว่า เป็นเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดของนาซี เยอรมัน ด้วยรูปลักษณ์ภายนอก ก็ไม่เชิง ด้วยชื่อที่ตั้งให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของเยอรมันก็ไม่เชิง แน่นอนว่า เรือลำนี้คือความหวังสูงสุดทางทะเลของเยอรมันที่จะใช้เรือลำนี้เป็นเรือแม่ในการครอบครองทะเลทั้งยุโรปให้ตกเป็นของตน และก็สามารถทำได้จริงๆ อย่างการทำลายขวัญกำลังใจเหล่าทหารเรืออังกฤษด้วยการทำลายเรือหลวง เอชเอ็มเอส ฮู้ด จนอัปปางลงก้นทะเลไป นับเป็นจุดผกผันที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในยุทธนาวีทางทะเลระหว่างเยอรมันและอังกฤษ

บิสมาร์กในปี 1940
     เรือประจัญบานบิสมาร์ก ( German battleship Bismarck ) เป็นเรือลำแรกของชั้นบิสมาร์กซึ่งมีเพียง 2 ลำ ( อีกลำชื่อว่า Tirptiz )  นับเป็น 2 เรือแฝดที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เยอรมันเคยสร้างมาและยังเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ในขณะนั้นด้วย
     คำว่า "บิสมาร์ก" ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งเยอรมันนี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 
     เรือได้ถูกต่อขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1936 โดยบริษัทต่อเรือ โบรห์ม+โวสส์ ( Blohm + Voss ) ที่ฮัมบูร์ก ต่อจากนั้นก็นำไปใช้ทดสอบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1939 และได้คำสั่งปฏิบัติงานในวันที่ 24 สิงหาคม 1940 โดยมี แอร์นสท์ ลินเดมันน์ ( Ernst Lindemann ) เป็นผู้บัญชาการเพียงคนเดียวของเรือประจัญบานบิสมาร์ก
     ในเดือน พฤษภาคม 1941 บิสมาร์กและเรือลาดตะเวนหนักพริ๊นซ์เออเก็น ได้เข้าร่วม ยุทธนาวี Rheinübung ซึ่งเป็นความพยายามตีฝ่าออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อทำลายการขนส่งพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร จากอเมริกาเหนือ

บิสมาร์กขณะไฟไหม้ ถ่ายจาก ปริ๊นออฟเวลล์
     ในวันที่ 24 พฤษภาคม 1941 เรือทั้ง 2 ลำ ถูกฝั่งอังกฤษตรวจจับได้ ขณะอยู่ในบริเวณสแกนดิเนเวีย ส่งผลให้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างกองเรืออังกฤษกับกองเรือเยอรมัน กลายเป็น ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก โดยศึกครั้งนี้ ฝั่งอังกฤษประกอบด้วย เรือลาดตระเวณประจัญบานฮู้ด  เรือประจัญบานปริ๊นซ์ออฟเวลล์ และเรือลาดตะเวนหนัก รวมแล้ว 4 ลำด้วยกัน ส่วนฝั่งเยอรมันมีเพียง 2 ลำเอง ศึกครั้งนี้ดูเหมือนว่าเยอรมันจะแพ้เนื่องจากเป็นรองอังกฤษ
     ไม่ถึง 10 นาที หลังจากที่ฝั่งอังกฤษเปิดฉากยิงเข้าใส่ฝั่งเยอรมัน กระสุนจากบิสมาร์กก็ยิงโต้ตอบคืน ส่งผลให้กระสุนตรงเป้าที่ เอชเอ็มเอส ฮู้ด ของอังกฤษพอดี จึงเกิดระเบิดอย่างรุนแรงและถูกจมลงทันที โดยใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที ส่งผลให้ผู้บัญชาการเรือประจัญบานปริ๊นออฟเวลล์สั่งเอาคืนทันที กระสุนจากปริ๊นออฟเวลล์ ทำให้เรือปะจัญบานบิสมาร์กได้รับความเสียหาย บริเวณส่วนถังน้ำมันได้รั่วออกมา จึงจำเป็นต้องเป็นฝ่ายถอยออกไป ผลจากสงคราม บ้างกว่าว่าเยอรมันเป็นผู้ชนะ ถึงแม้จะถอยออกไป แต่ก็สามารถทำลายเรือหลวงฮู้ด ได้ บ้างก็ว่าอังกฤษเป็นผู้ชนะ เพราะเยอรมันถอยออกไป ไม่สามารถเข้าไปยัง แอตแลนติกเหนือตามแผนไว้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ฝั่งของอังกฤษได้รับความเสียหายมากกว่า โดยเสียทั้งเรือ เสียทั้งลูกเรือกว่า 1,428 นาย รวมถึงปริ๊นออฟเวลล์ก็ได้ความเสียหายด้วย

     การสูญเสีย ฮู้ด ของอังกฤษนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่อังกฤษรับไม่ได้อย่างหนึ่ง ส่งผลให้ 2 วันต่อมา ได้มีคำสั่งจากระดับสูงให้ระดมถล่มเรือลำนี้ ซึ่งในขณะเรือบิสมาร์ก ซึ่งยังไม่ได้รับการซ่อมจากศึกครั้งที่แล้ว ก็ได้เดินทางกลับ ซึ่งขณะนั้นอยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณตะวันตกของฝรั่งเศส ที่เมืองเบรสท์ ทางฝั่งอังกฤษที่ตามไล่ล่า บิสมาร์ก มีทั้งเรือรบและเครื่องบิน หลายลำ และในที่สุด วันที่ 26 พฤษภาคม 1941 เรือประจัญบานบิสมาร์กก็จนมุม ใบพัดท้ายเรือถูกตอปิโดร์จากเรือดำน้ำอังกฤษเข้าถล่ม จนใช้การไม่ได้ และในเช้าต่อมา เรือประจัญบิสมาร์กได้ถูกลุมล้อมจากฝั่งอังกฤษไม่หยุด ในที่สุดเรือก็ได้จมลง พร้อมกับความสูญเสียของลูกเรือจำนวนมาก กว่า 2,200 นาย และถูกอังกฤษจับไปเป็นเฉลยกว่า 110 นาย นี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นการปิดตำนาน เรือผู้พิชิต เอชเอ็มเอส ฮู้ด เรือหลวงแห่งเกาะอังกฤษลง ปัจจุบันสภาพเรือไร้วิญญาณยังคงอยู่ในก้นมหาสมุทรแอตแลนติก ตราบนานเท่านาน.


ลักษณะจำเพาะ


  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 41,700 ตัน
  • ความยาว : 241.6 เมตร
  • ความกว้าง : 36 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.3 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 30 น็อต (56 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 2,065 นาย  

 

 
บลูปริ้น บิสมาร์ก
 
อาวุธประจำ บิสมาร์ก 
  • ปืนใหญ่ขนาด 380 มม. (15 นิ้ว) ชนิด 2 กระบอก จำนวน 4 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) ชนิด 6 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 105 มม. (4.1 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 20 มม. (0.79 นิ้ว)  12 กระบอก

อ้างอิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น