Ads 468x60px

.

Sample Text

Sample text

Introduction

Social Icons

Blogroll

About

Blogger templates

Blogger news

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Tirpitz เรือประจัญบานที่อังกฤษใช้ความพยายามในการจมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์
German Battleship Tirpitz
     เรือลำนี้คือ ควีน ของไรซ์ที่ 3 ส่วน บิสมาร์ก คือ คิง ของไรซ์ที่ 3 สำหรับสาเหตุที่เราเรียกเรือลำนี้ว่า ควีน ก็เพราะว่าเป็นเรือน้องของบิสมาร์ก แต่ถ้าพูดความยิ่งใหญ่เรือลำนี้อาจเป็นรองเล็กน้อย ถึงอย่างไรก็ดี ความยิ่งใหญ่ของเรือชั้นบิสมาร์ก ซึ่งมีเพียง 2 ลำ ก็สามารถสร้างความแข็งแกร่งทางทะเลให้กับทัพเยอรมันนีได้เป็นอย่างมาก แม้แต่อังกฤษที่สมัยนั้นถือเป็นที่ 1 ทางทะเล ก็ยังต้องยอมแพ้ มาดูประวัติเรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ กันเถอะ
     เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ ( Battleship Tirpitz ) เป็นหนึ่งในสองเรือประจัญบานชั้น บิสมาร์ก ซึ่งถือเป็นชั้นเรือที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันนี ผลิตขึ้นเพื่อรับใช้ทัพเรือนาซีเยอรมัน ( Kriegsmarine ) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
     คำว่า "เทียร์พิตซ์" มาจากผู้บัญชาการทหารเรือหลวงเยอรมันนี ( Imperial German Navy ) คนสำคัญของเยอรมันนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 นามว่า "อัลเฟรด ฟอน เทียร์พิตซ์"

เทียร์พิตซ์ขณะถูกเครื่องบินรบอังกฤษเข้าถล่ม (3 เมษายน 1944)
     เทียร์พิตซ์ ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1936 โดยบริษัทKriegsmarinewerft Wilhelmshaven ของเยอรมันนี จนสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1939 และได้นำไปใช้ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1941 เช่นเดียวกับ บิสมาร์ก ซึ่งได้นำไปใช้ก่อนหน้านี้แล้ว
     หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบเรือในช่วงต้นปี 1941 ก็ได้ไปร่วมกับกองเรือบอลติก ซึ่งได้เป็นเรือแม่ มีหน้าที่เฝ้าระวังกองเรือโซเวียตในทะเลบอลติก ในช่วงปี 1942 เรือเทียร์พิตซ์ ได้แล่นไปทางนอร์เวย์ เพื่อเข้าไปยับยั้งกองกำลังจากฝั่งพันธมิตร และการรุกรานของเหล่าพันธมิตร  ขณะที่อยู่ในนอร์เวย์ ก็ได้เข้าถล่มกองเรือที่มุ่งไปโซเวียต
    ในตอนนี้ เรือระดับตำนาน ชั้นบิสมาร์ก ที่มีอยู่ 2 ลำ ได้ถูกอังกฤษจมลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1 ลำ คือเรือบิสมาร์ก นั่นเอง คงเหลือแต่เรือลำนี้ลำเดียวที่ยังคงเป็นความหวังให้กับเยอรมันอยู่
   เทียร์พิตซ์ นับเป็นหนึ่งในเรือรบที่จัดทัพกลางทะเล จุดประสงค์หลักคือการต่อกรกับทัพเรืออังกฤษ เพื่อที่จะครอบครองพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในทะเลให้กับเยอรมันนี ต่อมาในปี 1943 เทียร์พิตซ์และ เรือประจัญบาน  ชาร์นโฮสต์ ( Scharnhorst ) ได้มีส่วนร่วมในการถล่มฝั่งพันธมิตรบนเกาะสฟาลบาร์ ของนอร์เวย์ เมื่อเทียร์พิตซ์ ได้ยิงกระสุนออกจากปืนใหญ่หลักออกไปได้เพียงหนึ่งลูก หลังจากนั้นไม่นาน เทียร์พิตซ์ ก็ถูกโจมตี โดยแผนของอังกฤษที่เรียกว่า Operation Source ด้วยวิธีการส่งเรือดำน้ำขนาดเล็ก ( Mini-submarines ) ที่มีคนขับเพียง 1-2 คน จำนวนหลายๆลำเข้าโจมตี ตามมาด้วยการโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ แต่เรือก็สามารถรอดมาได้ จนซ่อมเสร็จพอใช้งานได้ ในช่วงเดือนเมษายน 1944
   ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1944 เครื่องบินแลนเชสเตอร์ของอังกฤษได้บรรทุกระเบิดทอลบอล (Tallboy) น้ำหนักกว่า 12,000 ปอนด์ (5,400 กก.) ทิ้งเข้าใส่เรือประจัญเทียร์พิตซ์ โดยโดนเป้าเต็มๆ ส่งผลให้เรือพลิกคว่ำอย่างรวดเร็ว (ดั่งภาพด้านล่าง) เพลิงกระจายไปยังฐานยิงปืนใหญ่หลัก ซึ่งเป็นที่บรรจุกระสุนปืนใหญ่ ส่งผลให้เกิดระเบิดขนาดใหญ่ตามมา มีการคำนวณผู้เสียชีวิต อยู่ระหว่าง 950 ถึง 1,250 นาย และภายหลังสงครามยุติลงเรือลำนี้ก็ได้รับการกู้ขึ้นมา โดยความร่วมมือของนอร์เวย์และเยอรมันนี
     ความพยายามของอังกฤษที่หวังจะจมเรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ นั้น หลายครั้งด้วยกัน ได้แก่ Operation Source, Tungsten  Planet, Brawn, Tiger Claw, Mascot, Goodwood,  Paravane, Obviate และสุดท้ายคือ Operation Catechism รวมแล้ว 9 ปฏิบัติการด้วยกัน นี่แหละคือพยายามของอังกฤษขนานแท้ ที่หวังจะจมมหาเรือแห่งไรซ์ที่ 3 ลำนี้ให้จงได้ และในที่สุดปฏิบัติการสุดท้ายของอังกฤษ นามว่า "Operation Catechism" นั้นก็ได้ทำให้โลกเห็นว่าอังกฤษก็สามารถล้มเรือประจัญบานลำแม่ลำสุดท้ายของเยอรมันลงได้ นี้คือการปิดฉากทั้งเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดลำหนึ่งเท่าที่เยอรมันเคยสร้างมาและเป็นการปิดฉากตระกูลเรือชั้นบิสมาร์ก ที่ได้เคยบันทึกในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ว่า เป็น 2 เรือที่ประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งไรซ์ที่ 3 ตั้งแต่เคยมีมา.

ลักษณะจำเพาะ

  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 42,900 ตัน
  • ความยาว : 241.6 เมตร
  • ความกว้าง : 36 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.3 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 30 น็อต (56 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 2,065 นาย  

 


 

บลูปริ้น เทียร์พิตซ์

 
อาวุธประจำ เทียร์พิตซ์ 
  • ปืนใหญ่ขนาด 380 มม. (15 นิ้ว) ชนิด 2 กระบอก จำนวน 4 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) ชนิด 6 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 105 มม. (4.1 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 20 มม. (0.79 นิ้ว)  12 กระบอก

อ้างอิง
 











Scharnhorst เรือหลวงแห่งทัพเรือนาซี

เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์
German battleship Scharnhorst
    เรือลำนี้ คือเรือหลวงแห่งทัพเรือนาซี เยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพูดถึงรูปลักษณ์แล้ว นับว่าอาจไม่ใช่เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของทัพเรือเยอรมันในขณะนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก บิสมาร์ก และ เทียร์พิตส์ และได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในเรือรบที่ดีที่สุดลำหนึ่งของทัพเรือเยอรมัน น่าสนใจแล้วละสิ นั้นเข้าไปสัมผัสบรรยากาศของเรือลำนี้กันได้เลย
     เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์ ( German battleship Scharnhorst ) คือเรือหลวงแห่งกองทัพเรือเยอรมัน ( Kriegsmarine ) ชั้นชาร์นโฮสต์ ดังนั้นเรือลำนี้จึงเป็นเรือแม่ของชั้นนี้ด้วย ชาร์นโฮสต์ ได้รับการจำแนกชนิดของเรือ ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบาน โดยถ้าหากนับเป็นเรือประจัญบาน ก็ถือเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดรองจากเรือชั้นบิสมาร์ก แต่ถ้าหากนับเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบาน ก็ถือเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในทัพเยอรมัน เท่าที่เคยมีมา 
     ชาร์นโฮสต์ ได้รับการต่อขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1935 โดยบริษัทKriegsmarinewerft Wilhelmshaven ของเยอรมันนี บริษัทเดียวกับที่ใช้สร้าง เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ ต่อจากนั้นก็ได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1936 ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือน และได้รับคำสั่งปฏิบัติบัติการเมื่อวันที่ 7 มกราคม 1939 เรือประกอบไปด้วย ปืนใหญ่หลักขนาด 283 มม. ( 11 นิ้ว )  เพื่อใช้แทนปืนใหญ่ขนาด 380 มม. ( 15 นิ้ว ) ที่ติดตั้งบนเรือชั้นบิสมาร์ก ซึ่งทำให้เรือวิ่งช้าจึงย่อขนาดลงมา
     เรือประจัญบานชาร์นโฮสต์ และเรือประจัญบานกินายสโนว์( Gneisenau ) ได้ร่วมปฏิบัติการร่วมกัน ในช่วงต้นๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อโจมตี เรือพาณิชย์อังกฤษ ระหว่างช่วงแรกของการปฏิบัติการ ชาร์นโฮสต์ สามารถ จมเรือ เอชเอ็มเอส ราวัลพิลดี ( HMS Rawalpindi ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวน ในระหว่างการปะทะกันได้เป็นผลสำเร็จ
      ในปี 1940 เรือทั้ง 2 ได้เข้าร่วม ปฏิบัติการที่ทัพนอร์เวย์ ( Operation Weserübung ) ระหว่างอยู่ที่นั่น เรือทั้ง 2 ก็ได้ร่วมกันโจมตี เอชเอ็มเอส รีนาว์น ( HMS Renown ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบาน ลำแม่ของชั้นนี้ จนเรือเสียหายหนัก และสามารถจมเรือ เอชเอ็มเอส กลอเลียสซ์ ( HMS Glorious ) ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวน ที่ดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษ จากการปะทะในครั้งนี้ทำให้เรือชาร์นโฮสต์ ได้รับการบันทึกว่า เป็นหนึ่งในเรือรบที่ยิงโดนเรือไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยระยะทางจาก ชาร์นโฮสต์ ถึง กลอเลียสซ์ ประมาณ 24,000 ม. หรือ 24 กม. เชียว
      ในปี 1942 หลังจากการโจมตีกองเรืออังกฤษ ก็ได้เข้าร่วมกับยุทธนาวี ใหญ่ๆหลายครั้ง ( เยอรมันใช้รหัสปฏิบัติการ ว่า "Channel Dash" ) โดยเฉพาะยุทธนาวีที่ช่องแคบอังกฤษ บริเวณฝรั่งเศสส่วนที่ถูกครอบครองโดยเยอรมัน
      ในปี 1943 ชาร์นโฮสต์ ได้ปฏิบัติการร่วมกับเรือเทียร์พิตซ์พร้อมกับเรือพิฆาตอีกหลายลำ ในนอร์เวย์ เพื่อเข้าสกัดและทำลาย กองเรือฝั่งพันธมิตรที่มุ่งไปยังโซเวียต 
      ในยุทธนาวีนอร์ทเคป กองเรือเยอรมันก็ได้ถูกกองเรือลาดตระเวนของอังกฤษเข้าสกัด ในขณะนั้น ชาร์นโอสต์ ถือเป็นเป้าของอังกฤษ เพราะมีเพียง ชาร์นโอสต์ แค่ลำเดียว แต่ต้องต่อกรกับกองเรืออังกฤษ ที่มีเรือรบมากกว่าถึง 14 ลำ ผลของสงคราม ชาร์นโฮสต์ สามารถโจมตี เรือได้ 2 ลำ และ เรือประจัญบาน 1 ลำ ( เสียหายล็กน้อย ) แต่ก็เป็นผลให้เรือลำนี้ต้องจมลงในเวลาต่อมา โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นใน เวลา 16.17 จากเรือประจัญบานดยุคออฟยอร์ก ( Duke of York ) สามารถจับเรดาร์ได้ว่า เรือชาร์นโอสต์ กำลังแล่นเข้ามา จึงสั่งระดมยิงไปยังชาร์นโอสต์ จนในเวลา 18.42 เรือประจัญบานดยุคออฟยอร์ก ยิงไปทั้งหมด 52 ลูก เข้าเป้าอย่างน้อย 13 ลูก ผลจากการยิงทำให้เรือชาร์นโฮสต์เสียหายหนัก และในที่สุด ณ เวลา 19.45 เรือก็จมลง เรือประจัญบานชาร์นโอสต์ ซึ่งเข้าไปยังจุดที่เรือจมเพื่อหาผู้รอดชีวิต ก็สามารถช่วยเหลือลูกเรือชาร์นโอสต์จากน้ำที่เย็นจัด มาได้ 36 นาย จากทั้งหมด 1,968 นาย
     และนี้คือจุดสิ้นสุดของ เรือลาดตระเวนประจัญบานที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ที่สุดในทัพเยอรมัน เท่าที่เคยมีมา.

ลักษณะจำเพาะ

  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 32,100 ตัน
  • ความยาว : 235 เมตร
  • ความกว้าง : 30 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.69 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 31 น็อต (57 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 1,669 นาย  
 

 
บลูปริ้น ชาร์นโฮสต์

 
อาวุธประจำ ชาร์นโฮสต์ 

  • ปืนใหญ่ขนาด 283 มม. (11 นิ้ว) ชนิด 3 กระบอก จำนวน 3 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) จำนวน 12 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 105 มม. (4.1 นิ้ว) จำนวน 14 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว) จำนวน 16 ป้อม
  • ปืนกลขนาด 20 มม. จำนวน 16 กระบอก
  • ท่อยิงตอร์ปิโดร์ขนาด 533 มม. จำนวน 6 กระบอก


อ้างอิง

 

      
   












Bismarck เรือประจัญบานระดับตำนานแห่งไรซ์ที่ 3

เรือประจัญบานบิสมาร์ค
German battleship Bismarck
     เรือบิสมาร์ค อาจกล่าวได้คำเดียวเลยว่า เป็นเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดของนาซี เยอรมัน ด้วยรูปลักษณ์ภายนอก ก็ไม่เชิง ด้วยชื่อที่ตั้งให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของเยอรมันก็ไม่เชิง แน่นอนว่า เรือลำนี้คือความหวังสูงสุดทางทะเลของเยอรมันที่จะใช้เรือลำนี้เป็นเรือแม่ในการครอบครองทะเลทั้งยุโรปให้ตกเป็นของตน และก็สามารถทำได้จริงๆ อย่างการทำลายขวัญกำลังใจเหล่าทหารเรืออังกฤษด้วยการทำลายเรือหลวง เอชเอ็มเอส ฮู้ด จนอัปปางลงก้นทะเลไป นับเป็นจุดผกผันที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในยุทธนาวีทางทะเลระหว่างเยอรมันและอังกฤษ

บิสมาร์กในปี 1940
     เรือประจัญบานบิสมาร์ก ( German battleship Bismarck ) เป็นเรือลำแรกของชั้นบิสมาร์กซึ่งมีเพียง 2 ลำ ( อีกลำชื่อว่า Tirptiz )  นับเป็น 2 เรือแฝดที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เยอรมันเคยสร้างมาและยังเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ในขณะนั้นด้วย
     คำว่า "บิสมาร์ก" ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งเยอรมันนี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 
     เรือได้ถูกต่อขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1936 โดยบริษัทต่อเรือ โบรห์ม+โวสส์ ( Blohm + Voss ) ที่ฮัมบูร์ก ต่อจากนั้นก็นำไปใช้ทดสอบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1939 และได้คำสั่งปฏิบัติงานในวันที่ 24 สิงหาคม 1940 โดยมี แอร์นสท์ ลินเดมันน์ ( Ernst Lindemann ) เป็นผู้บัญชาการเพียงคนเดียวของเรือประจัญบานบิสมาร์ก
     ในเดือน พฤษภาคม 1941 บิสมาร์กและเรือลาดตะเวนหนักพริ๊นซ์เออเก็น ได้เข้าร่วม ยุทธนาวี Rheinübung ซึ่งเป็นความพยายามตีฝ่าออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อทำลายการขนส่งพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร จากอเมริกาเหนือ

บิสมาร์กขณะไฟไหม้ ถ่ายจาก ปริ๊นออฟเวลล์
     ในวันที่ 24 พฤษภาคม 1941 เรือทั้ง 2 ลำ ถูกฝั่งอังกฤษตรวจจับได้ ขณะอยู่ในบริเวณสแกนดิเนเวีย ส่งผลให้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างกองเรืออังกฤษกับกองเรือเยอรมัน กลายเป็น ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก โดยศึกครั้งนี้ ฝั่งอังกฤษประกอบด้วย เรือลาดตระเวณประจัญบานฮู้ด  เรือประจัญบานปริ๊นซ์ออฟเวลล์ และเรือลาดตะเวนหนัก รวมแล้ว 4 ลำด้วยกัน ส่วนฝั่งเยอรมันมีเพียง 2 ลำเอง ศึกครั้งนี้ดูเหมือนว่าเยอรมันจะแพ้เนื่องจากเป็นรองอังกฤษ
     ไม่ถึง 10 นาที หลังจากที่ฝั่งอังกฤษเปิดฉากยิงเข้าใส่ฝั่งเยอรมัน กระสุนจากบิสมาร์กก็ยิงโต้ตอบคืน ส่งผลให้กระสุนตรงเป้าที่ เอชเอ็มเอส ฮู้ด ของอังกฤษพอดี จึงเกิดระเบิดอย่างรุนแรงและถูกจมลงทันที โดยใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที ส่งผลให้ผู้บัญชาการเรือประจัญบานปริ๊นออฟเวลล์สั่งเอาคืนทันที กระสุนจากปริ๊นออฟเวลล์ ทำให้เรือปะจัญบานบิสมาร์กได้รับความเสียหาย บริเวณส่วนถังน้ำมันได้รั่วออกมา จึงจำเป็นต้องเป็นฝ่ายถอยออกไป ผลจากสงคราม บ้างกว่าว่าเยอรมันเป็นผู้ชนะ ถึงแม้จะถอยออกไป แต่ก็สามารถทำลายเรือหลวงฮู้ด ได้ บ้างก็ว่าอังกฤษเป็นผู้ชนะ เพราะเยอรมันถอยออกไป ไม่สามารถเข้าไปยัง แอตแลนติกเหนือตามแผนไว้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ฝั่งของอังกฤษได้รับความเสียหายมากกว่า โดยเสียทั้งเรือ เสียทั้งลูกเรือกว่า 1,428 นาย รวมถึงปริ๊นออฟเวลล์ก็ได้ความเสียหายด้วย

     การสูญเสีย ฮู้ด ของอังกฤษนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่อังกฤษรับไม่ได้อย่างหนึ่ง ส่งผลให้ 2 วันต่อมา ได้มีคำสั่งจากระดับสูงให้ระดมถล่มเรือลำนี้ ซึ่งในขณะเรือบิสมาร์ก ซึ่งยังไม่ได้รับการซ่อมจากศึกครั้งที่แล้ว ก็ได้เดินทางกลับ ซึ่งขณะนั้นอยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณตะวันตกของฝรั่งเศส ที่เมืองเบรสท์ ทางฝั่งอังกฤษที่ตามไล่ล่า บิสมาร์ก มีทั้งเรือรบและเครื่องบิน หลายลำ และในที่สุด วันที่ 26 พฤษภาคม 1941 เรือประจัญบานบิสมาร์กก็จนมุม ใบพัดท้ายเรือถูกตอปิโดร์จากเรือดำน้ำอังกฤษเข้าถล่ม จนใช้การไม่ได้ และในเช้าต่อมา เรือประจัญบิสมาร์กได้ถูกลุมล้อมจากฝั่งอังกฤษไม่หยุด ในที่สุดเรือก็ได้จมลง พร้อมกับความสูญเสียของลูกเรือจำนวนมาก กว่า 2,200 นาย และถูกอังกฤษจับไปเป็นเฉลยกว่า 110 นาย นี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นการปิดตำนาน เรือผู้พิชิต เอชเอ็มเอส ฮู้ด เรือหลวงแห่งเกาะอังกฤษลง ปัจจุบันสภาพเรือไร้วิญญาณยังคงอยู่ในก้นมหาสมุทรแอตแลนติก ตราบนานเท่านาน.


ลักษณะจำเพาะ


  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 41,700 ตัน
  • ความยาว : 241.6 เมตร
  • ความกว้าง : 36 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.3 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 30 น็อต (56 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 2,065 นาย  

 

 
บลูปริ้น บิสมาร์ก
 
อาวุธประจำ บิสมาร์ก 
  • ปืนใหญ่ขนาด 380 มม. (15 นิ้ว) ชนิด 2 กระบอก จำนวน 4 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) ชนิด 6 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 105 มม. (4.1 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว)  16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 20 มม. (0.79 นิ้ว)  12 กระบอก

อ้างอิง




วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Dunkerque เรือหลวงลำแรกแห่งกองทัพฝรั่งเศส หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

French battleship Dunkerque
เรือประจัญบานดันเคิร์ก
    น้อยคนนักที่จะรู้จักเรือประจัญบานของฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพูดถึงเรือที่มีชื่อเสียงมากๆ ของฝรั่งเศส สำหรับคนที่เคยอ่านประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสแล้ว คงต้องยก เรือประจัญรีเชอรีเยอร์ มาเป็นลำดับหนึ่ง ส่วนเรือประจัญบานดันเคิร์กลำนี้ เห็นทีจะเป็นรองไปเลย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์ของเรือประจัญบานลำนี้ ก็ยังมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ เป็นเรือหลวงลำแรกแห่งกองทัพฝรั่งเศส ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
      เรือประจัญบานดันเคิร์ก ( French battleship Dunkerque ) คือ เรือประจัญบานลำแรกและเป็นเรือเอกของชั้นดันเคิร์ก ( Dunkerque ) ซึ่งเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเรือจำนวน 2 ลำ เพียงเท่านั้น โดยอีกลำ ชื่อว่า สตราสบูร์ก ( Strasbourg ) ซึ่งเป็นเรือที่มีอาวุธหนักมากกว่าเรือลำนี้เล็กน้อย
      เรือได้รับการต่อขึ้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1932 โดยใช้นักออกแบบร่วมกันคิดร่วม 1 ศตวรรษ ในช่วงปี 1922 ที่ท่าเรือวอชิงตัน จนเสร็จเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1935 และรับคำสั่งปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1937
      ก่อนที่จะมาเป็นเรือลำนี้ ได้มีการออกแบบเรือออกเป็น 3 ชั้นได้แก่  Normandie class, Lyon class และชั้นนี้ แต่ 2 ชั้นที่กล่าวมาได้รับการยกเลิกในช่วงใกล้เข้าสู่สงครามเนื่องจากขาดงบประมาณ เหลือแต่เพียงชั้นนี้เป็นเพียงชั้นเดียว ที่ได้ไม่ถูกยกเลิก
      ดันเคิร์ก และ สตราสบูร์ก ทั้ง 2 ลำได้ประจำการอยู่ ที่กองเรือ 1 แห่งทัพฝรั่งเศส ( French Navy's 1ère Division de Ligne ) ก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหน้าที่ค้นหา เรือพาณิชย์ของเยอรมันที่ลักลอบเข้ามา ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการของเยอรมัน ในการสืบข้อมูลของฝรั่งเศส ในช่วงไม่มีกี่เดือนก่อนเข้าสงคราม นอกจากนี้แล้ว ดันเคิร์ก ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือสินค้าของฝรั่งเศส
      ในวันที่ 3 กรกฎาคม 1940 เรือประจัญดันเคิร์กได้เข้าร่วมยุทธนาวี เมอร์ส-เอล-เกบี ( Mers-el-Kébir ) ซึ่งในขณะนั้นฝรั่งเศสได้ขอสงบศึกกับนาซีเยอรมัน ( ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น วีชี ) จึงเป็นเหตุให้อังกฤษกังวลถึงอำนาจทางทะเลที่มากเกินไป ทางฝั่งอังกฤษจึงเริ่มโจมตีใส่ฝั่งฝรั่งเศส ที่ เมอร์ส-เอล-เกบี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัลจีเลีย โดยยุทธนาวีนี้ได้มีเรือหลวงของอังกฤษเข้าร่วมด้วยนั่นคือ เอชเอ็มเอส ฮู้ด ยุทธนาวีครั้งนี้ ได้ทำให้ฝรั่งเศสเสียหายเป็นอย่างมาก ด้วยการเสียเรือประจัญบานไป 1 ลำ เรือพิฆาตและเรือประจัญบานอื่นอีกๆ ล้วนเสียหาย รวมถึงลูกเรือเสียชีวิตถึงหลักพัน ส่วนฝั่งอังกฤษนั้นเสียหายน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับฝรั่งเศส ที่เสียลูกเรือ 2 นาย และเครื่องบิน 6 ลำ สำหรับ ดันเคิร์ก นั้นได้เสียหายเป็นอย่างมาก รวมถึงเสียลูกเรือไปถึง 210 นาย

ภาพเหตุการณ์จมเรือตัวเอง ที่เมืองตูลง
      ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1942 ระหว่างรอซ่อมแซม ที่ตูลง ( Toulon ) ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองแห่งอู่เรือ และคลังแสงที่สำคัญของฝรั่งเศส เรือดันเคิร์กและเรือรบอีกหลายๆลำ ก็ได้ถูกจมลงภายหลังจากรัฐบาลวีชีของฝรั่งเศส ได้เห็นควรหลีกเลี่ยงที่จะ ไม่ให้เรือรบกับนาซีเยอรมัน จึงมีคำสั่งให้จมเรือรบของตัวเองทุกลำ โดยการใช้เรือดำน้ำ เป็นเหตุให้เรือรบ 85 ลำถูกทำลาย และเรือ 39 ลำที่รอดออกมาได้ ก็ถูกเยอรมันเข้ายึดไป นอกจาก ดันเคิร์ก จะจมแล้วยังมีเรือประจัญบานสตราสบูร์ก ที่จมลงไปอีกลำด้วย นับเป็นการปิดฉากเรือชั้นดันเคิร์กทั้ง 2 ลำ ไปโดยปริยาย.

ลักษณะจำเพาะ

  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 26,500 ตัน
  • ความยาว : 214.5 เมตร
  • ความกว้าง : 31.08 เมตร
  • กินน้ำลึก : 8.7 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 29.5 น็อต (54.6 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 1381–1,431 นาย  

 
บลูปริ้น ดันเคิร์ก
 
อาวุธประจำ ดันเคิร์ก 

  • ปืนใหญ่ขนาด 330 มม.(13 นิ้ว) ชนิด 4 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 130 มม. (5.1 นิ้ว) 16 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว) 8 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 13.2 มม. (0.52 นิ้ว) 32 กระบอก

อ้างอิง
  





Richelieu เรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส

เรือประจัญบานรีเชอรีเยอร์ 
French Battleship Richelieu      
   เรือลำนี้ คือความหวังสำคัญของฝรั่งเศส ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะมันคือเรือแม่ ที่ทันสมัยที่สุดลำหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ในสมัยนั้น รวมถึงมีขนาดใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสด้วยกระบอกปืนใหญ่ที่มีขนาดถึง 380 มม. จำนวน 8 กระบอก บริเวณด้านหน้าเรือ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ขนาดที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ทำให้เรือลำนี้ เป็นเรือที่มีแสนยานุภาพทางทะเลมากที่สุดแห่งทัพฝรั่งเศส ด้วยอานุภาพการยิงไกลถึง 40 กม. ลองมาสัมผัสบรรยากาศเรือลำนี้กันเถอะ
    เดอะ รีเชอรีเยอร์ ( The Richelieu ) คือเรือประจัญบานชั้นดันเคิร์ก ( Dunkerque-class ) ที่มีขนาดใหญ่กว่าลำอื่นๆในชั้นเดียวกัน ทำให้เรือนี้เป็นเรือแม่ของชั้นนี้ และยังเป็น 1 ใน 2 เรือประจัญบานของชั้นรีเชอรีเยอร์ (Richelieu-class ) ซึ่งถือเป็นชั้นสูงที่สุดของเรือประจัญบานฝรั่งเศส ที่แยกออกมาอีกที อีกด้วย  
    รีเชอรีเยอร์ ถูกออกแบบออกมาเพื่อต่อกรกับ เรือประจัญบานอิตาลีซึ่งได้แก่เรือประจัญบานชั้น วิตตอริโอ้ เบเนโน ( Vittorio Veneto )  และเรือประจัญบานชั้น ลิตตอริโอ้ ( Littorio ) ทั้ง 2 ชั้น ถือเป็นเรือประจัญบานที่มีแสนยานุภาพมากของอิตาลี
รีเชอรีเยอร์ ขณะอยู่ที่นิวยอร์ก
     เรือได้รับการต่อขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1935 รีเชอรีเยอร์ ถือเป็นเรือประจัญบานลำแรกของฝรั่งเศสที่มีระวางขับน้ำถึง 35,000 ตัน ซึ่งถือเป็นการต่อเรือเกินขนาดตามสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าด้วย การจำกัดอาวุธยุทธภัณฑ์ทางนาวีของประเทศที่ร่วมลงนาม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, และอิตาลี ที่ห้ามต่อเรือรบทุกชนิดเกิน 10,000 ตัน จนต่อมาได้เกิดสงครามขึ้นทำให้สนธิสัญญานี้ไม่มีผลใช้ได้เป็นรูปธรรมได้อีกต่อไป ทำให้เรือลำนี้จึงถูกต่อขึ้น จึงนับว่าเป็นเรือประจัญบานรุ่นใหม่ลำแรกตั้งแต่ปี 1922 เป็นต้นมา (เรือประจัญบานรุ่นก่อนๆ มีระวางขับน้ำไม่เกิน 10,000 ตัน)
    เรือได้รับคำสั่งปฏิบัติงานในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 1940 โดยแล่นออกจาก เมืองเบรสต์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส มุ่งไปยังเมืองดาการ์เมืองหลวงของประเทศเซเนกัล ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณตะวันตกของแอฟริกาใต้ ซึ่งทำภารกิจบริเวณเขตการควบคุมของฝรั่งเศส ในแอฟริกาตะวันตก
     รีเชอรีเยอร์ เมื่อได้เข้าร่วมสงครามครั้งที่ 2 ก็ได้ถูกนาซี-เยอรมัน เข้าควบคุมทั้งหมดในฝรั่งเศส รวมถึงเรือลำนี้ด้วย ทำให้เรือเป็นของ วีชีฝรั่งเศส ( รัฐแห่งหนึ่งในฝรั่งเศสที่เข้าร่วมฝั่งเดียวกับเยอรมันนีในสมัยสงครามโลกครัั้งที่ 2 ) หลังจากนั้น ยุทธการที่ดาการ์ ที่ฝั่งพันธมิตรยกพลเข้ารุกวีชีฝรั่งเศส ก็ได้เกิดกระทบกระทั่งกันจน รีเชอรีเยอร์ ได้รับความเสียหาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามฝั่งวีชี ก็ได้ชัย จนต่อมาในเดือนตุลาคม 1943 ผู้บัญชาการเรือ รีเชอรีเยอร์ ก็ได้เปลี่ยนการตัดสินใจ โดยขอเข้าร่วมกับทัพสหรัฐแทน และเรือก็ได้ออกจาก ดาการ์ไปยัง นิวยอร์ก เพื่อไปเปลี่ยนโฉมลำเรือโดยการเพิ่มปืนติดตั้งเข้าไปด้วย รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากยุทธการ หลังจากนั้นเรือ ก็ได้เข้าร่วมทำสงครามบริเวณคาบสมุทรอินเดียกับอังกฤษ ในช่วงปี 1944 และ 1945
     รีเชอรีเยอร์ ก็ได้กลับมารับใช้ชาติร่วมกับทัพฝรั่งเศสอีกครั้ง ในปี 1945 ในสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 และได้ใช้เรื่อยมาจนถึง ปี 1967 ก่อนที่จะถูกชำแหละเศษเหล็ก และขายออกไป.
     นับเป็นการปิดฉากเรือประจัญบาน ลำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้ง 2 ที่ฝรั่งเศสได้ทำให้โลกรู้ว่า ฝรั่งเศสก็สามารถมีเรือประจัญบานแบบที่สหรัฐมีได้.

ลักษณะจำเพาะ
  • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 35,000 ตัน
  • ความยาว : 247.9 เมตร
  • ความกว้าง : 33 เมตร
  • กินน้ำลึก : 9.7 เมตร
  • ความเร็วเต็มที่ : 30 น็อต (56 กม./ชม.)
  • บรรจุทหาร : 1,620 นาย  
บลูปริ้น รีเชอรีเยอร์
 
อาวุธประจำ รีเชอรีเยอร์ 
  • ปืนใหญ่ขนาด 380 มม. (15 นิ้ว) ชนิด 4 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
  • ปืนใหญ่ขนาด 152 มม. (6 นิ้ว) 9 กระบอก
  • ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานขนาด 100 มม. (3.9 นิ้ว)  12 กระบอก
  • ปืนโบเฟอรส์ขนาด 40 มม. จำนวน 56 กระบอก
  • แท่งยิงฟาลังซ์ (Phalanx CIWS) 4 กระบอก
  • ปืนกลอากาศ เอเอ กันส์ เออร์ริคอน จำนวน 48 กระบอก

อ้างอิง
 
 


    
    













วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Charles de Gaulle เรือรบที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก

ชาร์ล เดอ โกลด์ (อาร์-91)
French aircraft carrier Charles de Gaulle (R91)
    นี้คือโฉมหน้าเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจของเหล่านาวีฝรั่งเศส ที่ได้มีเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์เหมือนมหาอำนาจของโลกบ้าง สมกับชื่อของเรือที่มีชื่อว่า "ชาร์ล เดอ โกลด์" ผู้ซึ่งเป็นวีรบุตรของชาวฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปสัมผัสบรรยากาศของเรือลำนี้กันเถอะ
      เรือบรรทุกเครื่องบิน ชาร์ล เดอ โกลด์ ( Aircraft carrier Charles de Gaulle ) คือ เรือธงแห่งทัพเรือฝรั่งเศส และเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 10 แห่งทัพเรือฝรั่งเศส ที่สำคัญ เป็นเรือรบพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของฝรั่งเศส ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (เป็นไปได้ว่าอนาคตจะมีอังกฤษเข้ามาแย่งตำแหน่งนี้) นอกจากนี้ยังเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ ที่ไม่ได้มาจากสหรัฐ 
สองบิ๊กแห่งท้องทะเล
ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรส์ แห่งทัพสหรัฐ (ซ้าย)
ชาร์ล เดอ โกลด์ แห่งทัพฝรั่งเศส (ขวา)
      ชาร์ล เดอ โกลด์ บรรทุกเครื่องบิน 3 ชนิดได้แก่ ดัซโซลท์-เบร์เกต์ ซูเปอร์ เอตังดาร์ท ( Dassault-Breguet Super Étendard ), ดัชโซลท์ ราฟาเอล  ( Dassault Rafale M ) และ อี-2 ฮ๊อคอาย ( E-2 Hawkeye ) และเฮลิคอปเตอร์ 2 ชนิด ได้แก่ ยูโรคอปเตอร์ อีซี725 ( Eurocopter EC725 ) และ ยูโรคอปเตอร์ เอเอส532 โควการ์ ( Eurocopter AS532 Cougar
      เรือได้รับการต่อขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 1989 โดยแรกๆ ตั้งชื่อว่า รีเชอรีเยอร์ เช่นเดียวกับอดีตเรือประจัญบานลำแม่ รีเชอรีเยอร์ จนต่อมาเปลี่ยนกับมาใช้ชื่อนี้แทน เรือลำนี้ควบคุมการต่อโดย บริษัท ดีซีเอ็นเอส ซึ่งเป็นบริษัทต่อเรือสัญชาติฝรั่งเศส จนต่อเสร็จเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1994 และได้รับการปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2001 นับว่าเป็นเรือที่ยังใหม่อยู่  
      ชาร์ล เดอ โกลด์ เป็นหนึ่งในกลุ่มลิงค์ 16 ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มเครือข่ายทางทหารของนาโต้ 
      ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2001 ฝรั่งเศสได้ตัดสินใจส่งทหารเข้าร่วมรบกับอัฟกานิสถานร่วมกับสหรัฐ โดยได้ส่งเรือลำนี้ เข้าร่วมยุทธการOperation Enduring Freedom บริเวณมหาสมุทรอินเดีย โดยทำหน้าที่เป็นฐานปล่อยเครื่องบิน ใช้ลาดตระเวร รวมถึงทิ้งระเบิด ตามจุดต่างๆ  โดยรวมแล้วมากกว่า 140 ภารกิจ เฉลี่ยบินวันละ 12 ครั้ง ควบคุมพื้นที่มากกว่า 3,000 กม.
     นอกจากนี้ก็ยังได้เข้าร่วมภารกิจบริเวรคาบสมุทรอาหรับ หลายภารกิจ อาทิเช่น เข้าไปเฝ้าระวังปัญหาระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน ปฏิบัติการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Operations) และ ปฏิบัติการอกาพันทัส ( Operation Agapanthus )  
     สำหรับเรือบรรทุกชาร์ล เดอ โกลด์ แล้วนับว่ายังใหม่ ก็ต้องดูกันต่อไปว่า เรือจะเป็นอย่างไรต่อไป สำหรับเรือระดับตัวแม่แห่งทัพฝรั่งเศส.


ลักษณะจำเพาะ

      • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 37,085 ตัน
      • ความยาว : 261.5 เมตร
      • ความกว้าง : 64.36 เมตร
      • กินน้ำลึก : 9.43 เมตร
      • ความเร็วเต็มที่ : 27 น็อต (50 กม./ชม.)
      • บรรจุทหาร : 1,750 นาย
      • บรรจุเครื่องบินสูงสุด 40 ลำ
      •  

         
        บลูปริ้น ชาร์ล เดอ โกลด์
         
       
      อาวุธประจำ ชาร์ล เดอ โกลด์
       
      • ท่อยิงจรวจชนิด 8 ช่อง (Sylver launchers) A-43 มี 4 ฐานยิง 
      • มิสทรัลมิซไซล์ชนิด 6 ช่องยิง จำนวน 2 แท่นยิง
      • ปืนใหญ่อัตโนมัติเอฟ 2 ขนาด 20 มม. จำนวน 8 ฐานยิง
       
         



          วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          USS George Washington สุดยอดเรือบรรทุกเครื่องบิน อีกลำหนึ่งของสหรัฐ

          ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน (ซีวีเอ็น-73)
          USS George Washington (CVN-73)
             มาอีกแล้วครับ สำหรับมหาอำนาจโลก กับกองเรือที่มีคุณภาพที่สุดในโลก และในวันนี้เราจะมากล่าวถึง ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งถือเป็นรุ่นบิ๊กลำหนึ่งของกองทัพสหรัฐเลยก็ว่าได้ ที่สำคัญเรือลำนี้ก็ได้เคยมาแวะเยี่ยมไทยหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในปี 2008 ซึ่งส่งผลให้คนไทยได้มีโอกาสสัมผัสเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดลำหนึ่งของโลก หรือแม้แต่ช่วงอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาในปี 2011 ก็เคยอาสาจะเข้ามาช่วยแต่ก็ไม่ได้เข้ามาเนื่องจากปัญหาของรัฐบาลไทยในช่วงนั้น เรือลำนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นเรือที่ค่อนข้างมีความผูกพันธ์กับไทยมากที่สุดลำหนึ่งของกองทัพสหรัฐ วันนี้ผมจะพาพวกท่านไปสัมผัสบรรยากาศของเรือ ยูเอสเอส จอร์จวอชิงตัน กัน
              
          ตราสัญลักษณ์ประจำ
          ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน
          ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ( USS George Washington ) คือเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ ชั้นซูเปอร์แคริเออร์ ( Supercarrier) เป็นเรือลำที่ 6 ของชั้นนิมิตซ์ และเป็นเรือลำที่ 4 ที่ตั้งชื่อให้กับอดีตประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ จอร์จ วอชิงตัน

               เรือได้รับการต่อขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1986 และได้ปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1992 จนถึงปัจจุบัน มีคำขวัญว่า "ความมุ่งมั่นสู่อิสระภาพ" ( Spirit of Freedom ) มีชื่อเล่น 3 ชื่อได้แก่ จีดับบลิว ( GW ), จี-ดัป ( G-Dub), และ เซลล์ บล๊อก 73 ( Cell Block 73 )
               ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ได้ปฏิบัติหน้าที่บริเวณน่านน้ำญี่ปุ่น ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและสร้างความมั่นคงทางทะเลให้กับน่านน้ำทะเลภาคพื้นแปซิกฟิกตะวันตก ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน จึงถือเป็นฐานสำคัญทางทะเลของกองทัพสหรัฐ
                 ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ยังถือเป็นเรือใหม่ที่ยังใช้งานไม่นานมาก จึงไม่เคยผ่านช่วงสงครามเย็น ทำให้เรือวอชิงตัน จึงไม่ค่อยมีชื่อเสียงเกี่ยวกับการใช้งานทางสงครามมากนักเมื่อเทียบกับเรือหลายๆลำที่มาจากบทความก่อนหน้านี้ เรือลำนี้จึงไปเด่นที่ แสนยานุภาพของเรือสมัยใหม่มากกว่า และ การที่ประจำการบริเวณคาบสมุทรเกาหลีด้วย ซึ่งปัจจุบันถือเป็น จุดที่เสี่ยงต่อสงครามมาก เรือลำนี้จึงได้รับเลือกให้เป็นเรือฝึกทหารระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหรัฐ เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น
               ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน เคยประสบไฟไหม้บนเรือ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2008 ระหว่างประจำอยู่บน ชายฝั่งแปซิฟิกตอนใต้ของอเมริกาใต้ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ถึง 37 นาย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งสาเหตุมาจากระบบแอร์ขัดข้องซึ่งเกิดจากห้องแอร์ร้อนเกินไป
               ในเหตุการณ์ปี 2011 ที่เกิดสึนามิและแผ่นดินไหวใหญ่ที่ญี่ปุ่นทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก รวมถึงส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตนิวเคลียร์ด้วย ภายหลังเหตุการณ์ก็ได้เคลื่อนออกจากญี่ปุ่นจากที่จอดอยู่ที่โยโกซึกะ และเรือก็สามารถตรวจพบสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิได้อีกด้วย
               ก็คงดูกันต่อไปว่า เรือลำนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินหน้าใหม่ของสหรัฐที่เพิ่งใช้งานได้ไม่นาน กับพลังงานนิวเคลียร์ที่สามารถใช้ได้ถึง 50 ปี ปัจจุบัน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตันก็ยังคงประจำอยู่ที่ญี่ปุ่นเช่นเดิม ที่เมืองโยโกซูกา ซึ่งอาจมีการแล่นไปที่อื่นบ้างเป็นครั้งคราว ตามโอกาส เรือลำนี้จึงค่อนข้างผูกพันธ์กับคนไทยพอสมควร ซึ่งอาจมาจากระยะทางจากญี่ปุ่นมาไทยมันไม่ไกลกันมากนัก เรือลำนี้จึงถือเป็นบิ๊กจากต่างชาติ ของไทยเลยก็ว่าได้.


          ลักษณะจำเพาะ



          • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 104,200 ตัน
          • ความยาว : 332.8 เมตร
          • ความกว้าง : 40.8 เมตร
          • กินน้ำลึก : 11.3 เมตร
          • ความเร็วเต็มที่ : 30+ น็อต (56+ กม./ชม.)
          • บรรจุทหาร : 6,102 นาย
          • บรรจุเครื่องบินสูงสุด 90 ลำ


           
          บลูปริ้น ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน


          
          อาวุธประจำ จอร์จ วอชิงตัน

          • ซี สแปร์โลร์ เอ็มเค 57  มี 2 ป้อม ( Mk 57 Mod3 )
          • จรวดต่อต้านเรือ อาร์ไอเอ็ม-116 มี 2 ป้อม ( RIM-116 )
          • แท่นยิงระบบป้องกันระยะประชิดฟาลังซ์ จำนวน 3 แท่นยิง
          อ้างอิง

           













          วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          USS Franklin เรือบรรทุกเครื่องบินที่อึดที่สุดแห่งกองทัพสหรัฐ

          ยูเอสเอส แฟรงคลิน (ซีวี-13)
          USS Franklin (CV-13)
             ภาพไฟแห่งสงคราม คือ ภาพที่น่ากลัวมาก เพราะมันคือความทรงจำอย่างหนึ่งที่ลืมได้ยาก น้อยคนนักที่จะลืมมันออกจากสมองได้ เว้นแต่คนคนนั้นจะเป็นคนที่โหดเหี้ยมจริงๆ ยูเอสเอส แฟรงคลิน ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งถูกฝั่งโจมตีอย่างหนัก จนแทบจะดูใช้การไม่ได้แล้ว แต่ก็สามารถแล่นเพื่อกลับไปซ่อมได้อีก ภาพที่เรือลำนี้เอียงใกล้จะจมก็ได้กลายเป็นภาพที่ดังที่สุดภาพหนึ่งของโลกและเป็นภาพที่เหล่าลูกเรือลำนี้ ยากต่อการลืมมันออกไป นี่แหละ คือเรื่องพิศวงของเรือ ยูเอสเอส แฟรงคลิน ที่หาเรือลำไหนมาเทียบไม่ได้ จริงๆ
               ยูเอสเอสแฟรงคลิน ( USS Franklin ) คือหนึ่งใน 24 ลำของเรือบรรทุกชั้นเอสเซ็กซ์ ( Essex-class ) มีชื่อเล่นว่า "บิ๊ก เบน" ถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้รับคำสั่งให้ต่อ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1942 และได้ปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1944 ยูเอสเอส แฟรงคลิน นับว่าเป็นเรือลำหนึ่งที่ปฏิบัติงานหนักที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนได้รับแบทเทิลสตาร์ ถึง 4 ดวงด้วยกัน
               ยูเอสเอส แฟรงคลิน เป็นเรือที่ตั้งชื่อให้แก่ เบนจามิน แฟรงคลิน นักการเมือง นักประดิษฐ์ นักกฏหมาย เขาเป็นเกือบทุกๆอย่างเลยกว่าได้ รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้นำร่วมก่อตั้งสหรัฐอีกด้วย โดยมี กัปตัน เจมส์ เอ็ม. ชูร์เมคเกอร์ ( James M. Shoemaker ) เป็นผู้บังคับบัญชาการเรือ
          
          แฟรงคลินซึ่งได้รับความเสียหายจาก คามิกาเซ่
               เมื่อได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกองเรือแปซิกฟิกแห่งกองทัพสหรัฐ โดยแล่นผ่านจาก เพิร์ล ฮาร์เบอร์ มุ่งตรงไปยัง ญี่ปุ่น โดยได้เข้าร่วมกองกำลัง นาวิกโยธิน ในการยกพลขึ้นบก บนเกาะโบนิน ( Bonin Island ) ซึ่งเครื่องบินจากแฟรงคลิน สามารถทำลายเครื่องบินฝั่งตรงข้ามได้หลายลำ ไม่ว่าจะที่จอดอยู่ในค่าย
          หรือ บนอากาศ และยังทำลายปืนต่อต้านอากาศยานที่คอยดักโจมตีเครื่องบินด้วย ต่อจากนั้นก็ได้มุ่งไปยัง เกาะอิโวจิมา, ชิชิ จิมา และ ฮาฮา จิมา ได้ถล่มเป้าหมายหลายจุด จนทำให้เรือบรรทุกสินค้าที่จอดอยู่อัปปางไปหลายลำและเกิดเพลิงไฟขนาดใหญ่ บริเวณท่าเรือ
               ในวันที่ 30 ตุลาคม 1944 ขณะที่ท้องทะเลยังเดือดกันอยู่ แฟรงคลินก็ได้ถูก คามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นจนบนเรือได้รับความเสียหาย มีลูกเรือเสียชีวิต 56 นาย และบาดเจ็บอีก 60 นาย ต่อจากนั้นเรือก็ได้ส่งไปซ่อมที่พูเจ็ต ซาวด์ เนวี ยาร์ด ( Puget Sound Navy Yard ) ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1944
               ในวันที่ 19 มีนาคม 1945 เรือก็ได้ลัดเลาะบริเวณน่านน้ำญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากเกาะแม่เพียง 80 กม. เอง นับว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่เข้าใกล้กับเกาะศัตรูมากกว่าเรือลำไหนๆ จนได้ปะทะกับ เรือที่ท่าโกเบะ ตามมาด้วย เครื่องบินของญี่ปุ่น ซึ่งได้ทิ้งระเบิดใต้น้ำ และตอปิโดร์ ทำให้ดาดฟ้าได้รับความเสียหาย รวมถึงด้านซ้ายของเรือ จนต่อมา
          น้ำมันเริ่มร่วงออกมาจนเกิดเพลิงไหม้ เรือเริ่มเอียงข้างไปทางขวา ทำมุมประมาณ 13 องศา ซึ่งในขณะนั้นเรือสูญเสียการติดต่อ และตัวส่วนห้องเครื่อง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก









          ภาพที่โด่งดังที่สุดภาพหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือภาพขณะที่
          ยูเอสเอส แฟรงคลิน เอียงไปทางขวา พร้อมกับลูกเรือบนดาดฟ้าเรือ
                ลูกเรือหลายต่อหลายคนเริ่มโดดลงทะเลกันแล้ว แต่ลูกเรือบางส่วน รวมถึง นาย
          ทหารหลายต่อหลายนายก็ได้คอยพยุงเรือไว้ให้สุดความสามารถ ในเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ลูกเรือเสียชีวิตไปกว่า 807 นาย และบาดเจ็บอีก 487 นาย นับเป็นเหตุการณ์การสูญเสียลูกเรือที่เลวร้ายที่สุดในการปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิกฟิก หลังจากนั้นไม่นาน เรือก็ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเอสเอส พิตส์เบิร์ก ( USS Pittsburgh ) จนสามารถลากกลับไปซ่อมได้ ซึ่งในขณะนั้น แฟรงคลิน แล่นด้วยความเร็วจากเชื้อเพลิงที่เหลือเพียง 16 น็อต จากที่เคยวิ่งได้ 33 น็อต จนนำไปซ่อมเบื้องต้นที่เกาะยูริติ  ก่อนจะส่งไปซ่อมเต็มที่ เพิร์ล ฮาเบอร์ และส่งต่อไปยังบลุคคลิน เนวี ยาร์ด ผ่านทางคลองปานามา โดยไปถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 1945
               ภายหลังจากเรือถูกโจมตี ก็ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ขาว-ดำ ชื่อว่า "ทาสค์ ฟอร์ซ ( Task Force )" ในปี 1949 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ และ USS Langley โดยบางส่วนของภาพยนตร์ได้มีการนำภาพเหตุการณ์จริงซึ่งได้มีการบันทึกไว้ออกมาปรากฏบนจอด้วย  
               ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ประหลาดอย่างหนึ่งที่ เรือโดนโจมตีอย่างหนักมาโดยตลอด แต่ก็สามารถรอดมาได้ ถึงแม้จะเสียหายหนักก็ตาม แต่ก็สามารถกอบกู้เรือมาได้ในสภาพที่นับว่าค่อนข้างดี (ภาพด้านบนสุด) ภายหลังจากสงคราม แฟรงคลินก็ได้เปิดรับให้เป็นเรือในวันงาน เนวี เดย์ และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1947 และต่อจากนั้น เรือก็ถูกชำแหละในวันที่ 1 ตุลาคม 1944 และเศษเหล็ก ทั้งหมดก็ได้ถูกขายไป เป็นการปิดฉากตำนาน เรือที่อึดที่สุดในสหรัฐตั้งแต่เคยมีมา

              

          ลักษณะจำเพาะ

          • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 27,100 ตัน
          • ความยาว : 266 เมตร
          • ความกว้าง : 45 เมตร
          • กินน้ำลึก : 8.66 เมตร
          • ความเร็วเต็มที่ : 33 น็อต (61 กม./ชม.)
          • บรรจุทหาร : 2,600 นาย
          • บรรจุเครื่องบินสูงสุด 90 -100 ลำ
          บลูปริ้น ยูเอสเอส แฟรงคลิน
           
          อาวุธประจำ แฟรงคลิน
          • ปืนใหญ่คู่ขนาด 5 นิ้ว (127 นิ้ว) 4 ฐาน
          • ปืนใหญ่เดี่ยวขนาด 5 นิ้ว (127 นิ้ว) 4 ฐาน
          • ปืนชนิด 4 กระบอก ขนาด 40 มม. จำนวน 8 ฐาน
          • ปืนใหญ่อัตโนมัติ ขนาด 20 มม./78 แคลลีเบอร์  46 กระบอก
          อ้างอิง

           



          วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          USS Langley เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของโลก

          ยูเอสเอส แลงลีย์ (ซีวี-1)
          USS Langley (CV-1)
             เรือบรรทุกเครื่องบิน คือ เครื่องหมายแสดงแสงยานุภาพในการครอบครองทะเล เรือบรรทุกเครื่องบินนับว่าเป็นศูนย์รวมของทุกๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นจะเรือพิฆาตที่คอยคุ้มกันเรือ เครื่องบินคอยลาดตระเวนในพื้นที่ จึงนับได้ว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน คือ หัวหอกสำคัญในการศึกสงครามทางทะเลเลยก็ว่าได้ ย้อนไปในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของโลกขึ้น จากสิ่งไม่เคยคิดมาก่อน จนเป็นต้นแบบให้กับเรือบรรทุกเครื่องบินในปัจจุบัน
          
          ยูเอสเอส แลงลีย์ เมื่อถ่ายจากมุมสูง
               ยูเอสเอส แลงลีย์ ( USS Langley ) คือเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของสหรัฐและน่าจะเป็นลำแรกของโลกถ้าพูดถึงลักษณะของตัวเรือ (โดยก่อนหน้านี้เคยมีการลองสร้างดูแล้ว แค่ก็เป็นเพียงการต่อเติมจนสามารถมีเครื่องบินจอดได้เท่านั้นเอง) ยูเอสเอส แลงลีย์ ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีแผนจะสร้างเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน โดยก่อนที่จะมาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ เป็นเพียงแค่เรือขนถ่านหิน ลำที่ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 1912 จนต่อมาเกิดไอเดีย จึงตัดส่วนปล่องไอน้ำ ส่วนตัวเครนบนเรือ และอื่นๆ ที่เป็นส่วนที่ตั้งบนฐานของเรือออกทั้งหมด และปรับพื้นที่ด้านบนจน ใช้เป็นที่จอดเครื่องบินได้ นอกจากนี้เรือลำนี้ยังถือเป็นเรือที่ขับเคลื่อนด้วยจักรไฟฟ้าลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐ ( ที่เป็นลำแรกก็เพราะปล่องไอน้ำถูกตัด การใช้วิ่งด้วยระบบใช้ถ่านหินจึงทำไม่ได้ เรือจึงต้องใช้วิธีอื่นในการแล่นแทน )  หลังจากเปลี่ยนรูปแบบเรือเสร็จ ก็ได้ใช้รหัสเรือ ของ "ซีวี" เป็นลำแรก ( CV-1 )  ต่อจากนั้นก็ได้เกิด 2 เรือบรรทุกแฝดของโลกขึ้น ได้แก่ CV-2, CV-3 
              ชื่อของแลงลีย์ มาจาก นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และดักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นามว่า แซมมวล เพียร์พอนด์ แลงลีย์ ( Samuel Pierpont Langley ) ซึ่งเดิมชื่อว่า ยูเอสเอส จูปิเตอร์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อนี้ภายหลังการปรับโฉมเรือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ในวันที่ 11 เมษายน 1920

              ยูเอสเอส แลงลีย์ ได้เข้าร่วมกับกองเรือแปซิกฟิก ในปี 1924 และในปี 1937 เรือลำนี้ได้ถูกปรับให้เป็นหนึ่งใน Seaplane tender ซึ่งหมายถึงการที่ให้เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นที่จอดของเครื่องบินรบสะเทินน้ำในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ( ปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีที่ไม่นิยมใช้แล้ว )จนได้เปลี่ยนรหัสใหม่เป็น AV-3 แทน CV-1
              เมื่อเพิร์ล ฮาเบอร์ ถูกญี่ปุ่นเข้าโจมตี ในเดือนธันวาคม 1942 ยูเอสเอส แลงลีย์ก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพเรือ โดยมีหน้าที่หลักคือ การขนเครื่องบินไปยังชวา ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เมื่อไปถึงที่นั่นเรือก็ต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรม คือ ถูกญี่ปุ่นโจมตี โดยบอมเบอร์ ทำให้อัปปางลงไป.




          ลักษณะจำเพาะ

          • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 12,900 ตัน
          • ความยาว : 165.2 เมตร
          • ความกว้าง : 19.9 เมตร
          • กินน้ำลึก : 8.4 เมตร
          • ความเร็วเต็มที่ : 15.5 น็อต (18.7 กม./ชม.)
          • บรรจุทหาร : 468 นาย
          • บรรจุเครื่องบินสูงสุด 36 ลำ


           
           บลูปริ้น ยูเอสเอส แลงลีย์


          
          อาวุธประจำ แลงลีย์

          • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว/51 แคล (127 มม.)  มี 4 ป้อม
          อ้างอิง



            

          วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          USS Nimitz เรือบรรทุกเครื่องบินที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังใช้งานอยู่

          ยูเอสเอส นิมิตซ์ (ซีวีเอ็น-68)
          USS Nimitz (CVN-68)
              เรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ แครีเออร์ ในภาษาอังกฤษ คือตัวบอกถึงแสนยานุภาพทางทะเลได้อย่างหนึ่ง บางประเทศมีเพียงลำเดียวก็แสดงถึงแสนยานุภาพได้แล้ว เพราะเรือบรรทุกเครื่องบิน มีส่วนสำคัญในการพลิกสงคราม เพราะสงครามที่ผ่านๆมา เรือแต่ละลำที่ถูกจม ล้วนมาจากเครื่องบินเป็นส่วนใหญ่ และถ้าเราจะกล่าวถึง ยูเอสเอส นิมิตซ์ แห่งกองทัพเรือสหรัฐ คงต้องกล่าวคำเดียวเลยว่า "เรื่องกองทัพเรือที่หนึ่งของโลก ต้องสหรัฐที่เดียวเท่านั้น!" เรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ก็ได้เป็นตัวยืนยันเพิ่มมากขึ้น ถึงแสนยานุภาพ และกองกำลังทหารที่ไม่มีชาติใดเปรียบเทียบได้ เพราะไม่มีชาติไหนที่จะมีงบทางทหารมากเท่าประเทศนี้อย่างแน่นอน เริ่มนอกเรื่องและ...มาทำความรู้จักเรือลำนี้กันเถอะ
              ยูเอสเอส นิมิตซ์ ( USS Nimitz ) เป็นเรือบรรทุกชั้น ซูเปอร์แครีเออร์  (Supercarrier) แห่งกองทัพสหรัฐ และเป็นเรือแม่ของชั้น นิมิตซ์ ในปัจจุบันถือว่ามีขนาดใหญ่มากที่สุดลำหนึ่งของโลกในฐานะเรือรบ อาจจะมีขนาดพอๆกับ USS Enterprise เลยก็ว่าได้
          
          ตราสัญลักษณ์ประจำ ยูเอสเอส นิมิตซ์
               ในช่วงแรกๆ เรือออกแบบในรหัส CVAN-68 แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแผนไปออกแบบในรหัส CVN-68 แทน ซึ่งเป็นรหัสสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์แบบใหม่
               โดยที่ชื่อของเรือลำนี้ มาจาก จอมพล เชสเตอร์ ดัวบิว. นิมิตซ์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือภาคพื้นแปซิกฟิกที่ 3 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเรือลำนี้ก็คือ เรือลำแรกของชั้นนี้ด้วยและก็นับว่าเป็นชื่อชั้นที่มาใหม่ที่สุดของกองเรือสหรัฐ 
               ยูเอสเอส นิมิตซ์ ได้เริ่มวางกระดูกงู ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 1968 ที่ท่าต่อเรือ นิวพอร์ต นิวส์ ชิปบิ้วดิ้ง ( Newport News Shipbuilding ) ต่อมา เรือก็ได้รับการตั้งชื่อโดย แคทเธอรี นิมิตซ์ เลย์ ( Catherine Nimitz Lay) ผู้ซึ่งเป็นลูกชายของ จอมพลเชสเตอร์ ผู้เป็นพ่อ และเมื่อเรือสร้างเสร็จก็ได้นำไปใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม 1975 ตามคำสั่งของ ประธานาธิบดีในสมัยนั้น คือ เจอราลด์ ฟอร์ด
          เครื่องบินตกบนดาดฟ้าเรือ
               ยูเอสเอส นิมิตซ์ ได้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรก ที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1976 ได้ไปแถบมหาสุมทรอินเดีย ซึ่งสหรัฐกำลังมีปัญหาในอิหร่านอยู่ จนเมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จก็กลับ ในวันที่ 26 พฤษภาคม 1980 
               ในวันที่ 26 พฤษภาคม 1981 เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเครื่องบิน  EA-6B Prowler ชนบนดาดาฟ้าเรือทำให้ ลูกเรือเสียชีวิต 14 คน รวมถึงบาดเจ็บกว่า 45 คน ส่วนเรือได้รับเสียหายไม่มาก เนื่องจากไม่ถูกจุดสำคัญ ทำให้ไม่เกิดไฟไหม้หรือระเบิด เหมือนลำอื่นๆ ที่เคยเจอมา หลังจากเหตุการณ์เรือก็ได้แล่นไปประจำอยู่ที่ ทะเลแคริบเบียน และเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ยังเคยเป็นเรือคุ้มกันในงาน โอลิมปิก เกมส์ ปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ด้วย ณ บริเวณคาบสมุทรเกาหลี 
               ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1991 ได้ไปปฏิบัติภารกิจบริเวณคาบสมุทรเปอร์เซียน ซึ่งในขณะนั้นเอง ได้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย ระหว่างอิรัก กับ สหรัฐและพันธมิตร ยูเอสเอส นิมิตซ์ ได้เข้าร่วมปฎิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm) ในปัจจุบันยูเอสเอส นิมิตซ์ ยังคงใช้งานอยู่ ถ้าใครอยากเห็นก็ไปที่สหรัฐ ในบริเวณน่านน้ำสหรัฐ ก็อาจพบเรือลำนี้ก็ได้ ใครจะรู้. (แต่อาจได้แค่มองเพราะเรือยังไม่เปิดบริการให้ผู้คนเข้าไปยังเรือแต่อย่างใด)
                และหลังจากนั้นก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2012 ยูเอสเอส นิมิตซ์ ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้งานอยู่ และเป็นเรือที่เคยใช้ในปฏิการทางทหารยาวนานที่สุดแห่งกองทัพสหรัฐที่ยังคงใช้งานอยู่



          ลักษณะจำเพาะ

          • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 100,020 ตัน
          • ความยาว : 332.8 เมตร
          • ความกว้าง : 40.8 เมตร
          • กินน้ำลึก : 11.3 เมตร
          • ความเร็วเต็มที่ : 31.5 น็อต (58.3 กม./ชม.)
          • บรรจุทหาร : 3,200 นาย
          • บรรจุเครื่องบินสูงสุด 90 ลำ

          บลูปริ้น ยูเอสเอส นิมิตซ์

          
          อาวุธประจำ นิมิตซ์

          • แผงยิงจรวดมิซไซล์ 21 ช่องยิง มี 2 ป้อม ( Sea RAM )
          • จรวดต่อต้านอากาศยานและเรือขนาด 2 ป้อม ( RIM-7 )
          อ้างอิง

                 


          วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

          USS Texas เรือเดรดนอทลำสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่

          ยูเอสเอส เท็กซัส (บีบี-35)
          USS Taxas (BB-35)
              เรือลำนี้ คือ เรือคลาส  เดรดนอท (Dreadnought) ซึ่งเป็นเรือรบที่นิยมผลิตกันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นชาติแรกที่คิดค้น ระบบการต่อเรือเช่นนี้ขึ้นมา โดยผลิตมาเพื่อป้องกันน่านน้ำระหว่างประเทศอังกฤษกับ    เยอรมันนี ซึ่งสมัยนั้น ทั้ง 2 ชาติค่อนข้างมีความขัดแย้งทางการทูตมาก ทั้งเยอรมันนีก็พยายาม เสริมสร้างทัพนาวีให้แข็งแกร่งเช่นเดียวกับอังกฤษ เรือชั้นเดรดนอท นี้จึงมีอิทธิพลอย่างมากทางทะเลในช่วงสงครามสมัยใหม่อย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และเรือลำนี้ก็นับได้ว่าเป็นเรือที่มีอายุมากพอสมควรเพราะตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็เกือบศตวรรษได้แล้ว เรามาศึกษาเรือลำนี้กันเถอะ
               ยูเอสเอส เท็กซัส (USS Texas) เป็นเรือลำที่ 2 ของกองทัพสหรัฐที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับรัฐ "เท็กซัส" ถือเป็นเรือเดรดนอท ใน      คลาสเรือประจัญบาน นิวยอร์ก เรือได้เริ่มประจำการ วันที่ 18 พฤษภาคม 1912 และรับหน้าที่ วันที่ 12 มีนาคม 1914
          ยูเอสเอส เท็กซัส ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

               หลังจากเข้ารับหน้าที่ไม่นาน ก็ได้รับมอบหมาย ให้ไปคุมในน่านน้ำทะเลแม็กซิกัน ซึ่งระหว่างนั้นเองกะลาสีเรืออเมริกันก็ได้เกิดการกระทบกระทั่งกับ กะลาสีเรือชาวแม็กซิกัน ซึ่งเรียกเหตุการณ์นั้นว่า "เหตุการณ์แท็มปิโก" (Tampico Affair) ส่งผลให้เรือทั้ง 2 ฝ่ายยิงสวนกันไป มีผู้เสียชีวิต และ เรือบางลำเสียหาย แต่ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่รุนแรงนัก เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ต่อจากนี้ไป คือ สงครามครั้งที่ 1
                ในช่วงสงครามครั้งที่ 1 ยูเอสเอส เท็กซัส ได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในสงครามครั้งที่ 1 โดยเป็นเรือคุ้มกันเรือขนส่งสินค้า ชื่อว่า เอสเอส มองโกลเลีย (SS Mongolia) จนได้พบกับเยอรมันจึงเปิดฉากยิงนับว่าเป็นเรือรบลำแรกของกองทัพสหรัฐในสงครามที่เริ่มเปิดฉากยิงใส่ เรือศัตรู คือเรืออู (U-Boat) หรือ เรือดำน้ำ ของเยอรมันนั้นเองซึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ได้มีโอกาสแล่นไปยังอังกฤษ ต่อจากเหตุการณ์นั้นก็แล่นไปยังที่ต่างๆ  ก็ไม่ได้มีโอกาสกระทบทั่งกับศัตรูอีก ถึงแม้ระหว่างทางจะพบแต่ก็หลีกที่จะสู้ไปด้วย หลังจากสงครามเรือก็ได้ไปเทียบท่าที่พอร์ตแลนด์ฮาร์เบอร์, ประเทศอังกฤษโดยไปถึงที่นั่นเมื่อ 4 ธันวาคม 1918
              ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยูเอสเอส เท็กซัส ก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย เมื่อสหรัฐประกาศสงครามกับ ฝ่ายอักษะ ยูเอสเอส เท็กซัส ได้เป็นเรือในขบวนเรือรบของสหรัฐ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้มีส่วนร่วมในการยิงปืนใหญ่ใส่ฝ่ายอักษะ ในแอฟริกาเหนือ และ การบุกของฝ่ายพันธมิตรที่นอร์มังดี ต่อจากนั้นเรือก็ได้ย้ายไปประจำที่น่านน้ำแปซิฟิก ในช่วงปลายปี 1944 เพื่อให้การสนับสนุนเรือปืนในระหว่างสงครามอิโวจิมาและโอกินาวา ที่ประเทศญี่ปุ่น
              หลังสงครามยุติลง ยูเอสเอส เท็กซัส ได้การพิจาณาจากคณะกรรมการให้ปลดระวางเรือ ในวันที่ 21 เมษายน 1948 โดยเปลี่ยนให้เป็นเรือพิพิธภัณฑ์แห่งกองทัพสหรัฐ ที่สำคัญเรือ ยูเอสเอส เท็กซัส คือเรือประจัญบานลำแรกที่ได้เป็นพิพิธภัณฑ์ของกองทัพเรือสหรัฐ และได้รับหน้าที่อันสูงสุดของการเป็นเรือประจัญบานในแต่ละรัฐ นั้นคือ เรือธงประจำรัฐ เท็กซัส
              ยูเอสเอส เท็กซัส ได้รับแบทเทิลสตาร์ 5 ดวง สำหรับการปฎิบัติหน้าที่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์เรือ ใกล้กับฮูสตัน, เท็กซัส ถึงแม้ว่ายูเอสเอส เท็กซัส จะไม่ใช้เรือประจัญบานที่เก่าแก่ที่สุด โดยถือเป็น มิกาสะ เรือประจัญบานของญี่ปุ่นในปี 1898 แต่ก็ถือว่าเป็นเรือรบ 1 ใน 6 ลำในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ที่ยังไม่ถูกชำแหละ ทำให้เรือเหล่านี้คือเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกเป็นอย่างมาก ใครไปเที่ยวเท็กซัส ก็อย่าลืมไปแวะเที่ยวดูเรือลำนี้บ้างนะครับ.

           

          สถิติ สิ่งแรกของกองทัพเรือสหรัฐ

          • เป็นเรือประจัญบานเดรดนอทลำเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
          • เป็นเรือที่โดดเด่นในด้านขนาดที่สุดลำแรกของกองเรือสหรัฐ
          • เป็นเรือลำแรกที่รับมอบหมายให้เป็นบ้านพักของหน่วยมารีน ซึ่งเกิดจากความบังเอิญ ในช่วงสงคราม
          • เป็นเรือลำแรกที่ติดปืนต่อต้านอากาศยานไว้บนเรือรบ
          • เป็นเรือลำแรกที่ติดระบบการยิงด้วยการใช้เครื่องกำหนดทิศทางและหน่วยเล็งปืน (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ คอมพิวเตอร์แทน) 
          • เป็นเรือลำแรกที่ยิงเครื่องบินตกด้วย ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน (โดยปืนใหญ่ชื่อว่า Turret 3)
          • เป็นหนึ่งในเรือลำแรกๆ ที่ได้ติดตั้งระบบเรดาร์ CXAM-1
          • เป็นเรือประจัญบานลำแรกที่ได้เป็นพิพิธภัณฑ์ของกองทัพเรือสหรัฐ
          • เป็นเรือประจัญบานลำแรกที่ได้รับยกเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ชาติสหรัฐ (US National Historic Landmark)


          ลักษณะจำเพาะ (1945)

          • ขนาด (ระวางขับน้ำ) : 32,000 ตัน
          • ความยาว : 175 เมตร
          • ความกว้าง : 29.03 เมตร
          • กินน้ำลึก : 9.60 เมตร
          • ความเร็วเต็มที่ : 10 น็อต (19 กม./ชม.)
          • บรรจุทหาร : 1,810 นาย  
          
           
          บลูปริ้น ยูเอสเอส เท็กซัส

          อาวุธประจำ ยูเอสเอส เท็กซัส
          • ปืนใหญ่ขนาด 360 มม. 10 กระบอก
          • ปืนใหญ่ขนาด 130 มม. 6 กระบอก
          • ปืนใหญ่ขนาด 76 มม. 10 กระบอก
          • ปืนใหญ่ขนาด 40 มม. 10 กระบอก
          • ปืนใหญ่ขนาด 20 มม. 44 กระบอก

          อ้างอิง